ผมก็คงร่ายกันแบบคร่าวๆ ไม่วิชาการมาก ตามประสา คนความรู้น้อย แต่เมียเยอะ...(ฮา-อันนี้ ฮาๆ นะ ไม่เป็นเรื่องจริง อักษรมันพาไป
ก่อนจะพล่าม ก็ดูข้อมูลจากหลายแหล่ง แบ่งประเภทของเต๊นท์หลากหลาย จนผมงง และ สับสน
สำหรับผม แยกเป็นแบบง่ายๆ ที่คนทั่วไปพอจะหาซื้อ หามาใช้กันได้
แบบที่ 1 : แบบสามเหลี่ยม ทรง A น่านละ
เต๊นท์แบบนี้ ผมใช้สมัยนานมาแล้ว เพราะ ยุคนั้น เท่าที่หาดู ก็จะมีแต่แบบนี้
ไม่ค่อยมีแบบให้เลือกมากมาย วิธีกางก็ง่ายๆ มีเสาตั้งกลาง ดึงมุม ฝังสมอบก แค่นี้ ก็เป็นรูปเป็นร่างแล้ว พร้อมนอนได้เลย
ผ้าอีกผืนนึง ก็ขึง กันน้ำค้างลง พร้อมฝังสมอบก
แบบนี้ใช้เวลาไม่นาน คนเดียวก็กางได้ แต่ทรงมันดูโบราณไปแล้ว สำหรับสมัยนี้
ช่วงนี้ ผมไปตามที่ต่างๆ ก็ไม่ค่อยเห็นแล้ว แบบนี้
สำหรับเต๊นท์แบบนี้ เหมาะสำหรับ คนไปคนเดียว กางเต๊นท์คนเดียว ทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว เพราะวิธีการกางเต๊นท์ ไม่ยถุ่งยาก ไม่ต้องมีคนช่วยจับ ไม่ต้องชำนาญการอะไรเป็นพิเศษ
แต่....
ผมก็ไม่ใช้แบบนี้แล้วเหมือนกัน
แบบที่ 2 : เต๊นท์โดม
ผมว่า ค่อยข้างนิยมในยุคนี้ เพราะดูไม่โบราณ มีสีสันมากมายให้เลือกเต๊นท์แบบนี้ ตอนเข้ามาใหม่ๆ ผมยืมญาติมาใช้ ครั้งนึง ไปที่ห้วยขาแข้ง
กางกันไม่เป็นครับ งง...ไม่เคยเห็นแบบนี้ กางไปเสาพลาสติก ยื่นแลบออกข้างนอก ดูแล้วตลก แล้วก็น่าอาย
แต่ตอนนี้ สบายมากครับ รู้แล้วจร้า.....
เต๊นท์โดมแบบนี้ จะมีเสาพลาสติกเหนียวอย่างน้อย 3 ชุด เสาจะเป็นแบบถอดพับ แล้วต่อกันได้เป็นเส้นยาวๆ เพื่อขึ้นโครงเต๊นท์
เสา 2 ชุด สำหรับวางขวางกันเป็นรูปกากบาท ทำทีละเส้นนะครับ แล้วโก่งให้เต๊นท์ขึ้นเป็นทรง
ส่วนอีก 1 ชุด จะใช้ขึ้นโครง Fly Sheet (บางแบบมี 2 เสาที่ใช้ยึด Fly Sheet)
การเลือกซื้อเต๊นท์แบบนี้ ต้องดูว่า
คุณน่ะ ไปกี่คน กางกี่คน คนที่กางบ่อยๆ จะกางคนเดียวได้ แต่ถ้าไม่ค่อยได้ใช้ หรือ ยืมญาติ อาจจะต้องใช้ 2 คน ช่วยกันจับ ไม่งั้นละเสามันจะดิ้นไปมา เวลาที่จะขึ้นโครงเป็นรูปเต๊นท์
อีกจุดที่ต้องดู คือ คลิปที่ล็อคเสากับเต๊นท์
ต้องล็อคได้ง่าย คือ เสากับหัวคลิป ต้องกดลงเพื่อยึดง่าย ไม่จำเป็นต้องแน่น เพราะมันจะหลวม หรือ แน่น มันก็ต้องเคลื่อนตัวได้
เพราะฉะนั้น จำไว้เลย ว่า จะซื้อ ลองเอา นิ้วโป้ง กดลงได้ เป็นใช้ได้ แต่ถ้าต้องเอาทั้งมือ ช่วยกดละ วางเก็บที่ชั้นอย่างเดิม
เพราะผมก็ตั้งเป้าไว้ว่า คุณจะต้องกางคนเดียวให้ได้ เพราะมันไม่ยากอะไรเลย
แหมแล้วยิ่งถ้าไปกะสาวๆ แล้ว กางออกมาไม่ได้ ละก็ ฮา....แถมหมดมาดแมนเชียวนะ...ตะเอง
แบบที่ 3 : แบบพับกาง...ผลั่วะ...เป็นเต๊นท์ใน 3 วินาที
แบบนี้ ไม่ค่อยแนะนำให้ใช้หรอก เพราะผมมองว่า มันเหมาะกับกางในที่มีหลังคา แล้วผมเห็นลมพัดปลิว 2 ครั้ง สำหรับเต๊นท์แบบนี้ แม้จะฝังสมอบกไว้
พอดี ผมไม่ค่อยรู้เรื่องทฤษฎีลม กับรูปทรงมาก ก็เลย ไม่มีข้อมูลเชิงวิชาการ ก็เลย บอกแค่ว่า เคยเห็นมาว่ามันปลิว ก็เท่านั้น
แม้จะไม่แนะนำ ผมก็มีแบบนี้ 1 หลัง ซื้อให้ลูกชายตอนเขาขึ้น อนุบาล 1 ใช้กางในบ้าน เพื่อให้เขาเล่นสนุกๆ มีโลกของเขา
เรามีหน้าที่แค่พับเก็บ เขาอยากเล่้น ก็ แก้เชือก แล้ว โยน ก็มีบ้านของเขาแล้ว
ไม่มีวิธีการเลือกนะ สำหรับเต๊นท์แบบนี้ นึกไม่ออกจริงๆ
มันมีเต๊นท์ที่มีรูปแบบอีกเยอะแยะ ขี้เกียจไปพูดถึง เพราะมันไม่เหมาะ กับคนจะเที่ยวแนวแคมปิ้งเท่าไร
ต่อมา ไปดูวิธีการเลือก แบบทั่วๆไป ไม่เจาะจงเฉพาะแบบ
ขนาด : ก็ดูว่า โดยทั่วๆไป เราไป นอนกันกี่คน หากเราปกตินอน 2 คน ก็เลือก แบบนอนได้ 3-4 คน จำไว้ว่า x 2 เสมอ เพราะคุณต้องมีที่วางผ้าห่ม โทรศัพท์ ไฟฉาย รวมถึง พื้นที่ในการนอนก่ายกันไปมาสำหรับคุณ กับ .... ใครก็ได้ที่ไปกับคุณ
แล้วก็ไม่ต้องไปซื้อใหญ่เกินไปล่ะ ผมมองว่า ถ้าจะไปเยอะแบบนานๆ ไปเยอะ ก็ซื้ออีก 1 หลังจะเหมาะกว่า เพราะ ถ้าใหญ่ คุณจะยิ่งกางคนเดียวยากขึ้น
แบบ : ก็ตามใจคุณละครับ อยากได้ แบบ สี รูปทรง แบบไหน ก็เลือกสรรเอาได้ตามใจ ไม่มีอะไรแนะนำ แค่ดูว่า มันควรมี Fly Sheet ให้คุณนอนโดยที่น้ำค้างไม่รวมตัว หยดแหมะลงบนหน้าผากคุณเป็นใช้ได้ เพราะบางที่ น้ำค้างแรงมาก ผมเคยโดนมาแล้ว ขนาด 2 ชั้นนะเนี่ย
แล้วก็ต้องมองถึงตอนเก็บด้วยนะจ๊ะ ว่า มัดรวบๆ แล้ว สะดวกใส่ประเป๋ามันไหม
แล้วก็ Fly Sheet ให้มันใหญ่คลุมเต๊นท์ด้วยล่ะ เพราะ บางแบบ มีอันเท่ากระดาษ A4 จุ๋มจิ๋มดีเหลือเกิน
แหล่งที่มา : ผู้ผลิต ไม่ขอออกความเห็น เพราะ ไม่เคยสนใจ
ซื้อไปเถอะครับ มีติดไว้ ไม่เสียหลาย ถ้าคุณเป็นคนชอบการเดินทาง ท่องเที่ยวแบบสบายๆ
แต่ถ้าต้องติดที่นอนนุ่มๆ ก็บอกตรงๆ ว่า คุณเสียเวลาอ่านเรื่องนี้แล้วละ ... ต้องขอโทษด้วย