ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

เตรียมซื้อรถมือ 2 จากผู้ใช้สิทธิรถคันแรก

งานนี้ อาจจะเป็นการเขียนเพื่ออนาคต โดยที่ไม่รู้ว่า หลังจากวันนี้ จะมีมาตรการอะไรจากหน่วยงานของรัฐอีกหรือไม๋ ? 

ก็ตั้งใจไว้แล้ว ว่้าจะต้องเขียน และหาข้อมูลเรื่องภาษีรถคันแรก
แล้วก็เข้าใจว่า ผู้ที่ทำธุรกิจเต๊นท์รถ ก็น่าจะรู้รายละเอียด ดีกว่าผมมาก
เพราะศักยภาพ ด้านการเงิน , การงาน และ ช่องทางหลายๆอย่าง
ก็เป็นธุรกิจของเต๊นท์รถนี่นา ก็คงต้องมองภาพเผื่อไำว้
ว่าจะต้องเจอรถมือ 2 ที่เป็นรถในโครงการ ภาษีรถคันแรก 



ว่ากันที่ เรื่องของผู้ใช้งานจริง และ ชื่นชมการหาซื้อรถ มือ 2 เพื่อใช้งานจริงๆอย่างผมดีกว่า
รุ่นที่ผมสนใจ เล็งๆไว้
SUZUKI New Swift A/T 1.2 GA หรือ GL
ราคาขาย GA 469,000 Baht     ส่วนลดภาษี 72,000 Baht
ราคาขาย GL 507,000 Baht     ส่วนลดภาษี 75,000 Baht
ตีประมาณเอาว่า รถคันนี้ ออกมาในต้นปี 2012

 


รุ่นที่ผมสนใจ เล็งๆไว้อีกรุ่นนึง
Ford Fiesta 5 Dr A/T 1.4 หรือ 5 Dr A/T 1.5 Trend
ราคาขาย 1.4 A/T 594,000 Baht     ส่วนลดภาษี 100,000 Baht
ราคาขาย 1.5 A/T Trend 654,000 Baht     ส่วนลดภาษี 100,000 Baht
ตีประมาณเอาว่า รถคันนี้ ออกมาในปี 2012



ผมขอข้ามกรณี ผู้ที่ซื้อรถ เงินสด แล้วได้เงินภาษีคืนไปนะครับ
เพราะถือว่า เขาไม่มีปัญหาทางการเงิน ในการซื้อ-ขายรถเท่ากับผู้เช่าซื้อ

รถทั้ง 2 รุ่นนี้  ( หรือจะรุ่นอื่นๆก็ตาม ) กลุ่มที่จะพูดถึง คือกลุ่มที่ผมเดาว่า ผู้ครอบครอง หรือ ผู้เช่าซื้อ
ไม่สามารถที่จะผ่อนต่อได้ โดยที่อาจจะใช้รถมาแล้ว 1 ปี 2 ปี 3 ปีั ก็แล้วแต่ และไม่สามารถ ( หรือไม่ต้องการ ) จะคืนเงินภาษีรถคันแรกกลับแน่ๆ



หนึ่งในหลักเกณฑ์ คือ ต้องเป็นรถยนต์คันแรกที่ทำสัญญาซื้อขายระหว่างวันที่ 16 ก.ย. 2554-31 ธ.ค. 2555 เพราะ ฉะนั้น รถที่เข้าข่ายคือ ถูกใช้งานมาตั้งแต่ ราว กันยายน 2554
เมื่อครบ 1 ปี ก็ราวๆ กันยายน 2555 ก็จะเริ่มได้เงินคืนกันหลายคันละ
เพราะมาตรการนี้ จึงทำให้ ผู้ที่สถานการณ์ทางการเงิน เริ่มตึงมือ จำต้องรอจนได้เงินสดค่าภาษีรถคันแรก โอนเข้ามาก่อน

แต่.....ช้าก่อน ผู้ที่สนใจจะซื้อรถมือ 2 ที่อยู่ในโครงการรถคันแรก
ณ. วันนี้ เดือนมกราคา 2556 ปริมาณรถของผู้ที่ผ่อนไม่ไหว อาจจะยังไม่มาก
ผู้สนใจจะซื้อ รอ....รอ.... ยังครับ ต้องรอให้สุกได้ที่อีกนิดนึง
นักเศรษฐศาสตร์ ที่จบด้วยเกรดเฉลี่ย 2.03 อย่างผม คาดเดาว่า  


รอจนสุกงอมได้ที่ ก็ ปลายปี 2556
ไม่ต้องเป็นหมอดู ไม่ต้องเป็นเทพบุตรพยากรณ์ ไม่ต้องเป็นนักเดาอนาคตลวงโลก

แล้วราคา ??? เงื่อนไข ??? ของคุณๆ ผู้ที่จะซื้อรถมือ 2  จากรถที่เข้าโครงการนี้ล่ะ !!!



ขอใช้คำว่า รถโครงการฯ แทน รถที่อยู่ในโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก เพื่อความสะดวก นะครับ
ผู้ขาย คือผู้ครอบครอง หรือ ผู้เช่าซื้อ ที่จะขายรถของตัวเอง ที่้ยังคงติดอยู่กับไฟแนนซ์
ผู้ซื้อ คือ ผม หรือ ท่านๆที่สนใจจะต้องซื้อรถมือ 2 จาก รถโครงการฯ

กรณีนี้ จะว่ากันถึง ผู้ครอบครอง หรือ ผู้เช่าซื้อ ที่จะขายเอง โดยขายต่อ
ซึ่งจะถูกแยกเป็น 
1. เปลี่ยนสัญญา กับไฟแนนซ์ หรือ จัดไฟแนนซ์ใหม่ (สำหรับผู้ซื้อรถต่อ) หรือ
2. จะซื้อสดจากผู้ขาย และทำสัญญาโอนลอย หลังครบ 5 ปี ( ซึ่งเสี่ยงหน่อย )
ราคาทั้ง 2 ประเภท สำหรับผู้ซื้อรถโครงการฯ ต่อจากผู้ขาย ย่อมต่างกันแน่นอน จากความเสี่ยงนั่นเอง

 

สมมุติว่าเหตุการณ์เกิดขึ้น ธันวาคม 2556  ผมถูกใจรถโครงการฯ 1 คัน ที่ผุ้ขายอยากขาย
เป็น Swift A/T 1.2 GA รถออก มกราคม 2012 หรือ 2555 ราคาขายตอนนั้น 469,000 Baht     ส่วนลดภาษี 72,000 Baht
ผมจะซื้อที่ เท่าไรดี ??  ( ราคา ก็เป็นราคาที่ผมคาดว่าจะซื้อ )

สมมุติว่า รถคันนี้ ดาวน์ที่ 20% = 93,800 Baht ผ่อน 72 เดือน ด้วยยอด 6,149 Baht
** ที่คิดที่ 72 เดือน เพราะ มองที่คนซื้อรถกำลังการผ่อนไม่สูง ( พวกที่ผ่อนไหว ระยะสั้นก็มี )
[ ตัวเลขประมาณยอดผ่อนจาก www.9carthai.com ]
นักเศรษฐศาสตร์ เกรด 2.03 อย่างผมคำนวนได้ว่า ดอกเบี้ย 2.5 %
แล้วหากตัดสด จะลดดอกเบี้ย 50 %

สมมุติอีกเช่นกันว่า ไม่มียอดค้าง ( ซึ่งถ้ามี คงต้องเช็คไฟแนนซ์ ยอดค้าง เบี้ยปรับ ฯลฯ แล้วไปต่อรองราคากันเอาเอง )
รถคันนี้ ถูกใช้งานมา 1 ปี 9 เดือน ผู้ขายจ่ายเงินไปแล้วรวม 222,929 Baht ( ไม่รวมประกัน และ อื่นๆ )
แต่ได้เงินภาษีคืน 72,000 Baht สรุปคือ จ่ายจริง 150,929 Baht
ยอดคงค้างที่ไฟแนนซ์ 313,599 Baht จาก 51 เดือนที่เหลือ ที่ต้องผ่อน

มองจากยอดผ่อน 6,149 Baht ในนั้นมีดอกเบี้ย 938 ฺBaht เป็นยอดเงินต้น 5,211 Baht - เผื่อจะคำนวนง่ายขึ้นเวลามองเป็นงวดๆ



แบบที่ 1 เรียกว่า เข้าตามตรอก ออกตามประตู ไปกันตามระบบ ระเบียบ
แบบนี้ ไฟแนนซ์จะต้องเรียกเงินภาษีคือ จะจากผู้ขาย หรือผู้ซื้อก็แล้วแต่ 72,000 Baht

เอากรณี ผู้ซื้อ จะตัดสด
ยอดไฟแนนซ์ จากด้านบนคือ 313,599 Baht หากตัดสด ลดดอกที่ 50 %
จะลดดอกเบี้ยไป 23,919 Baht ( จากดอกรวม 47,838 Baht )
จะเหลือยอดต้องปิด 289,680 Baht
เพราะฉะนั้น ผู้ซื้อจะต้องจ่าย 289,680 Baht เป็นอย่างน้อย + เงินซื้อดาวน์
ถ้าเป็นผม จะซื้อดาวน์ที่ 50,000 Baht รวมตัดสด 290,000 Baht ( ขอปรับเป็นเลขกลมๆ )
คือจ่าย 340,000 Baht สำหรับรถเกือบ 2 ปีคันนี้ 
โดยที่ผู้ขาย ต้องจ่ายคืนภาษีเองด้วย
ผู้ขาย เสียรถ ควักเงินตัวเองอีก 22,000 Baht เพื่อจ่ายคืนภาษีกลับ
ผู้ขายคงไม่ Happy แน่ๆ แต่จะขายราคาสูงกว่านี้ ก็ยาก !!


แบบที่ 2 เรียกว่า วัดใจ วัดดวง ใช้ตัวอย่างเดียวกัน หรือ รถหลุด หรือ ไว้ใจ เชื่อใจกัน

** ฝั่งผู้ขาย ไม่อยากจ่ายเงินภาษีกลับ ไม่สามารถผ่อนต่อได้
** ฝั่งผู้ซื้อ แน่นอน หารถถูกๆ ปีใหม่ๆ มาใช้งาน


ค่อยๆอ่าน ค่อยๆ คิดตามนะครับ พยายามมอง 2 ฝั่ง ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย

เป็น Swift A/T 1.2 GA คันเดิมนี่แหละ
แต่ผู้ขายไม่อยากเสียเงินจากรถโครงการฯ อยากได้เงินเต็มๆ นั่นแหละ

** ฝั่งผู้ซื้อ **
ซึ่งจากตัวอย่าง และ ตัวเลขด้านบน ทำให้คุณ ตัดสินใจได้ว่า 
ควรซื้อรถคันนี้ ที่ราคาเท่าไร ที่จะจ่ายให้ผู้ขาย
นั่นคือ 340,000 Baht ผู้ขายไม่ขาย ก็ไม่เป็นไร เพราะ เดี่ยวก็มีรถพวกนี้อีกเยอะแน่ๆ รอปลายๆปี 2556 เถอะน่า จะเริ่มออกมามากขึ้น

คุณจะซื้อดาวน์ เท่าไร ??
แล้วคุณก็ส่งค่างวดรถต่อแทนผู้ขายอีก 313,599 Baht
โดยที่ คุณเอารถ และ เอาเอกสารผู้ขายทั้งหมดที่ต้องใช้โอนกรรมสิทธิ์
และเอกสารอื่นๆ - ไม่ขอพูดถึงเอกสารนะครับ
แล้วไปวัดดวงว่า ผู้ขาย ไม่ตายไปก่อนวันที่ครบกำหนด 5 ปี ที่จะโอนรถได้
ผู้ซื้ออย่างผม ถ้าอยากซื้อแบบนี้จริงๆ ก็ ฟรีดาวน์ครับ - แต่ไม่แนะนำวิธีนี้เลยจริงๆ
ผู้ขาย อาจจะขอเงินนิดๆ หน่อยๆ อาจจะ 10,000 - 20,000 Baht

ผู้ขาย ก็ไปวัดดวงกะผู้ซื้ออีกว่า จะผ่อนต่อให้เราไหม เพราะไม่งั้น ผู้ขายก็จะ Black List
ผู้ซื้อ ก็วัดดวง ว่าจะโอนรถได้ไหม
อาจจะเหมาะกับคนรู้จักกัน สนิทกัน ญาติๆกัน
แต่อย่าลืม !! เงินทอง ไม่เข้าใครออกใคร ญาติกัน ยังฆ่ากันได้ ก็เป็นข่าวมาแล้ว

วิธีการแบบที่ 2 นี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบแบบเทาๆ ไม่ขาวสะอาดมาก
เพราะ ผู้ซื้อ ได้รถมาใช้ แล้วเอารถไปวิ่ง ตจว. ในไร่ ในนา ซึ่งถูกกว่า ซื้อรถหลุดจำนำ แถมใหม่กว่า
เพราะ ผู้ขายร้อนเงิน อยากได้เงินไว พร้อมที่จะ Black List กับทุกธุรกรรมทางการเงิน
กรรม ตกกับผู้ค้ำประกัน !!

ทำไมถึงมีผู้ขายแบบนี้ ??? สมัยก่อนราว 10 ปีกว่าที่แล้ว มีขบวนการรับจ้างซื้อรถ ไม่แน่ใจในสมัยนี้อาจจะมีวิธีการที่แยบยลกว่าสมัยก่อนมาก
พวกนี้ พร้อมจ่ายเงินดาวน์ แล้วก็เชิดรถขายประเทศเพื่อนบ้าน


 แบบที่ 3  อันนี้ ผู้ขายจงใจ ขายเป็นรถหลุดจำนำ
ซึ่งมันก็คือ รูปแบบที่ผ่อนไม่ไหว แล้วเอารถไปจำนำ
จากตัวอย่างเดียวกันกับแบบที่ 1
** ฝั่งผู้ขาย น่าจะขายรถโดยการจำนำได้สัก 80,000 - 100,000 บาท
แถมไม่ต้องจ่ายคืนภาษี ไปใช้ชีวิตนอกระบบการเงิน
อาจจะให้ ภรรยา หรือ สามี ดำเนินธุรกรรมทางการเงินด้านอื่นๆให้
** ฝั่งผู้ซื้อ ได้รถหลุดไปใช้ ราคาถูก ไม่ต้องผ่อน ไม่สนกรรมสิทธิ์
ใช้งาน 2-3 ปี แยกอะไหล่ขายยังได้กำไร

ตายแล๊ว.......ระบบเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นยังไงเนี่ย ??

** ทุกอย่างเป็นเพียงการคาดเดาจากพื้นฐานของคนจบ เศรษฐศาสตร์ 2.03 ที่ไม่ได้ทำธุรกิจเรื่องรถเลย แค่ชอบซื้อรถ เปลี่ยนรถเรื่อยๆ และไม่ได้หวังพาดพิงระบบ ระเบียบ
เขียนเพราะจ้องที่จะซื้อรถพวกนี้อยู่น่ะ .....

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

พิสูจน์ไม้ - พิสูจน์คน ผ่านเรื่องราวของ IPPC ภาค 2

19 January 2013
วันที่ 19 นี้ ผมล้าครับ ขอลาหยุดพักร้อนสักเสาร์นึงเถอะ ปวดหัวมา 3 วันติดๆ มันมากเกินไปและ
และวันนี้ ผมมีหน้าที่ ต้องพิสูจน์คน ตั้งแต่เช้า



พิสูจน์คน ?? ด้วยความเป็น Single Dad หลายคน มันจะมองว่า
มันจะเป็นคนดีหรือ ??
มันไว้ใจได้หรือ ??
มันคือ ปีศาจ ?? .... ฯลฯ  
ดังนั้น ผมจึงต้องมีหน้าที่แสดงตัวตน เพื่อไม่ให้คนตัดสินผม จากการที่ไม่เคยเจอมาก่อน แล้วบอกว่า เราคือ "ปีศาจ" ไม่น่าที่จะเรียนรู้ หรือ อยู่ใกล้ด้วย
เรื่องพิสูจน์คน ค่อยมาว่ากันต่อ

สายๆ ชาวญี่ปุ่นส่งเสียงมา บอกว่า ให้แก้ไข Fumigated Cert. สำหรับ Shipment ที่ยังลอยอยู่ในทะเล
เตรียมที่จะเข้าท่า Houston USA
ซึ่งข้อเสนอนี้ ผมเสนอไปตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่า ตู้ Container ถูกกักที่ US Customs.ผ่านมา 3-4 วัน
ถึงตัดสินใจกันได้ ต้องรอให้ตู้ Container แรกถูกส่งกลับก่อน ใช่ไม๊ !?!?



อธิบายความของ Fumigated Certificated และ การตราประทับ IPPC อีกนิด
ไม้ที่ถูกอบยาด้วยวิธีการ Heat Treatment หรือ Methyl Bromide ด้วยกรรมวิธีและการตรวจสอบ ตรวจวัดค่าที่ถูกต้อง จะถือว่า สามารถส่งออกบรรจุภัณฑ์ไม้นั้นๆ ไปยังต่างประเทศได้

เท่านั้นไม่พอ ประเด็นสำคัญคือ ตราประทับเพื่อบอกว่า ได้ผ่านการอบยา โดยหน่วยงานที่ได้รับรอง


ตราประทับ เป็นของ องค์กรที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร
ส่วนสิทธิ์ของตราประทับ เป็นของ กรมวิชาการเกษตร
ที่สามารถจะยกเลิก หรือ เพิิกถอนสิทธิของ องค์กรนั้นๆได้ หากทำผิดกฎระเบียบ

ตราประทับ ถือว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกในตัวอยู๋แล้ว ว่าบรรจุภัณฑ์ หรือไม้นั้นๆ ได้ถูกอบยาแล้ว !!
เพราะฉะนั้น ตราประทับ จะสำคัญกว่า Fumigated Cert.

แล้วที่ผมเรียกร้อง Fumigated Cert. สำหรับตู้ Container ในภาคที่ 1 เพื่ออะไร ??
เพื่อ ยืนยันกับทาง USDA ว่าบรรจุภัณฑ์ไม้นั้น ได้ถูกอบยาเรียบร้อยแล้ว
เพื่อ เพิ่มน้ำหนัก ความน่าเชื่อถือของ Package นั้นๆ
เพื่อ ปล่อยตู้นั้นเข้าสู่ USA แล้วปัญหาพัวพันต่างๆ จะได้ไม่เกิด และจบสิ้นเสียที

แต่ทุกอย่าง สายเกินไป สำหรับตู้ Container นี้
นี่ไม่ใช่ Shipment แรกที่ผมส่งไป USA เป็น Shipment ที่เท่าไรแล้วก็ไม่รู้

จากนั้นทางญี่ปุ่นก็บอกมาว่า ค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้า เพื่อทดแทน Shipment ที่ถูกส่งกลับจาก USA
ค่า Air Freight ราวๆ 10 ล้านบาท !!

เรื่องนี้ยังคงต้องต่อสู้กันต่อไป ด้วยการตีความความหมายของ Dunnage


สิ่งที่ต้องตีความ ได้ถูกอธิบายให้ทางญี่ปุ่นรับรู้เรียบร้อย แต่หลังจากนี้ จะดำเนินการต่อสู้อย่างไร ก็เกินหน้าที่ ที่ผมจะทำต่อ ก็ได้แต่คิดในใจว่า เรื่องนี้ ต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก USDA
คงต้องปล่อยให้เป็นงานของ ญี่ปุ่น กับ USA แล้วละ

"Dunnage - Wood Packaging Materials used to secure or support a commodity, but which does not remain associated with the commodity"  
"Dunnage -วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัย หรือ ป้องกันความเสียหายให้สินค้า  แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสินค้า"

"Please note that blocking and bracing of goods inside  certified IPPC-stampd box or crate would not be considered dunnage,  as these Wood Packaing Material typically go with the shipment beyond the port of entry"
"โปรดทราบ : การยึดติดและผูกรั้งสินค้ากับบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะลังทึบหรือลังโปร่งที่เป็น IPPC จะไม่ถือว่าเป็น Dunnage, บรรจุภัณฑ์ไม้เหล่านี้ จะไปพร้อมกับสินค้าหลังจากได้ผ่านออกจากท่าไปแล้ว"


ภาพตัวอย่าง Dunnage ที่ยึดสินค้าไม่ให้หลุด เคลื่อน ขณะเึคลื่อนย้ายตู้ Container

ตามความหมายด้านบน  สิ่งที่ผมระบุว่าเป็น Dunnage จะถูกถอดออกที่่ท่าปลายทาง และทิ้งที่ท่า ไม่ได้ติดไปกับสินค้าเมื่อนำออกจากท่า
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมระบุว่า Part of Pallet จะติดไปพร้อมสินค้าตลอดเวลา เพราะนั่นเป็นส่วนประกอบของ Pallet ที่ไม่ต้องประทับตรา IPPC ทุกชิ้น
สรุปตามสิ่งที่ทางผมต้องการพิสูจน์ คือ Package นี้ ถูกต้องทุกอย่าง
แหม...อยากไปอธิบายให้ USDA ฟังจริงๆ ไม่ต้องผ่านชาวญี่ปุ่น ที่ดูเหมือนไม่ตั้งใจ และกระตือรือร้น ที่จะแก้ไขปัญหานี้สักเท่าไร

ก็อย่างที่บอกใน ภาค 1
FOB คือ ผู้ส่งออก มันไม่สนใจเลย เพราะของลงเรือแล้ว ไม่สนใจตามแก้ปัญหาที่เกิดหลังจากนั้น
แค่ต่อสู้กับ กฎระเบียบ USDA ก็เหนื่อย เครียด พอแล้ว
ต้องมาต่อสู้กับการเมินเฉย "Not Concern" ของพวกเจ้านายญี่ปุ่นอีก !!


มาสู่เรื่องของการพิสูจน์คน
จากบทเรียนของ IPPC Stamp ลงบนไม้ เพื่อรับรองว่า นั่นคือไม้ที่ได้รับการรับรองว่า ปราศจากแมลงศัตรูพืชที่จะรุกรานประเทศอื่นๆ

คน ก็เช่นกัน บางคน บางบ้าน บางครอบครัว อาจจะต้องการที่จะ Screen คนที่ได้รับการยอมรับว่า "ดีพอ"
Single Dad อาจไม่ถูกประทับตรา IPPC เพื่อระบุว่า เป็นคนดีพอ หรือ เหมาะสม หรือ อย่างเลวร้าย ก็อาจถูกมองว่า เป็น "ปีศาจ"

นั่นเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ เมื่อคุณถูกใครสักคน หรือ หลายๆคน มองว่า เป็น "ปีศาจ" ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบของการพิสูจน์แบบไหน



ก็น่าแปลกใจ ที่หลายคนมองว่า คนนั้นๆ คือ ปีศาจ ทั้งๆที่ไม่เคยเจอ ไม่เคยเห็น หรือ ไม่เคยพูดคุยกัน
หลายคนสาปเขาเป็น "ปีศาจ" เพียงเพราะได้ยินว่าเป็น "Single Dad"

เมื่อคุณเจอคนที่ไม่รู้จักคุณเลย 2 กลุ่ม มองคุณว่าเป็น "ปีศาจ" ทั้งรอบเช้า และ รอบเย็น
คุณจะรู้สึกอย่างไร ??

หมอดู หรือ โหร ชื่อดังๆหลายคน คงจะตกงานกันบ้างละ เพราะมีหลายคนที่ตัดสินคนเป็น "ปีศาจ" ด้วยสถานะของเขา แค่นั้น
ค่นั้น จริงๆ !!

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

พิสูจน์ไม้ - พิสูจน์คน ผ่านเรื่องราวของ IPPC ภาค 1

จากเมื่อ 10 สิงหาคม 2011 ได้เขียนถึงเรื่อง IPPC บรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก
http://nattprom.blogspot.com/2011/08/ippc.html



an ISPM 15 complied crate for the ocean freight shipment


คราวนี้มารอบใหม่ สินค้าเป็น Fabric Rolls เพื่อใช้ทำ Air Bag รถยนต์ส่งไปปลายทาง USA

16 January 2013 ทางลูกค้าแจ้งมาว่า มีสินค้า 1 x 40' Container ถูกกักอยู่ที่ USA Customs
เพราะ ไม่มีตราประทับ IPPC - "Lacking ISPM 15 Marking"
เมื่อไปตรวจดูภาพถ่ายของงานนี้ ปรากฎว่า มีตราประทับ IPPC ที่วัสดุกันกระแทก หรือ ศัพท์ที่เรียกกันว่า Wooden Dunnage และมีตราประทับทั้งที่ Pallet ชัดเจน

ณ. วันนี้ ตอนนี้ มีข้อมูลอยู่เพียงแค่นี้ สถานการณ์ยังไม่ชัดเจนว่าจะออกมาในรูปแบบไหน แต่อ่านจากเมล์ที่ได้รับมาจากลูกค้า ที่มีด้านล่างมีการส่งข้อมูลกันหลายหน่วยงาน พบว่า มีการตั้งเป้าแรกไว้ว่า จะส่งคืนตู้ Container นี้ทั้งตู้ กลับประเทศไทย [ The rejected container must be shipped back to Thailand ]


ปัญหาใหญ่ละ ถ้าถูกสรุปกันแบบนี้ เพราะอะไร
ค่าใช้จ่าย Ship Back to Thailand ราว 100,000 บาท และ
ค่าส่งสินค้า Lot ใหม่นี้ทาง Air Freight ที่ไม่รู้ว่า เท่าไร เพื่อให้สินค้าถึงมือลูกค้าโดยที่ Production Line ของลูกค้าปลายทางไม่สะดุด




USDA Logoผมเดาว่า เรื่องนี้ ต้องถูกกักโดยทาง USDA [ U.S. Department of Agriculture ] เพราะเป็นหน่วยงานอารักขาพันธุ์พืช ของ USA เพราะเป็นหน่วยงานตรง


วันนี้ทั้งวัน เลยต้องอ่าน ถอดคำ ถอดความหมายของ ข้อกำหนด ISPM No.15 และ ข้อกำหนดเพิ่มเติมของ USA เพื่อพิสูจน์ว่า ติดปัญหาที่จุดใด

ตอนนี้ที่ทำได้คือ อธิบายเรื่อง Fumigated Certificate ที่ทางผมส่งให้ลูกค้า ว่า ไม้ทั้งหมดนี้ ถูก Fumigated มาหมดแล้ว และเตรียมขอเอกสารใหม่ หากมีถ้อยคำ หรือข้อความใดไม่ครอบคลุม บอกตรงๆว่า ตอนนี้ ก็ยังไม่รู้ว่า USA ปฏิเสธการรับตู้ Container เข้าประเทศ และจะส่งกลับด้วยเหตุใด
เพราะ ข้อมูลมีมาให้น้อยจริงๆ ไม่รู้ติด ตกหล่น หรือปกปิดกันที่จุดใด


17 January 2013 ราว 10:00 น. โทรไปตามกับลูกค้า เรื่องจะแก้ไขข้อความ Fumigated Certificate ซึ่งได้รับคำตอบว่า 
"ไม่ต้องแก้ไขแล้ว ทางนู้นสรุปแล้วว่า ส่งกลับ"

หมดแรงทันทีครับ !!
เมื่อปลายทางสรุปเช่นนั้น ก็ต้องตามนั้น สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ
การขอหลักฐาน Report of Notified เพื่อขอรู้เหตุผลที่ปฏิเสธการนำเข้าประเทศ และ ส่งกลับมาไำทย !!


เอกสารจาก USDA ส่งผ่านมาหาใครบ้างผมไม่แน่ใจ แต่ผมขอจากลูกค้ามา จุดสำคัญ คือ
"Lacking ISPM No.15 Marking" - ปราศจากตราประทับตามข้อกำหนด ISPM No.15





ข้อแก้ต่าง - มันมีตราประทับอยู่ที่ไม้ Dunnage และ Pallet ทั้ง 2 ด้าน ( ข้อกำหนดคือ อย่างน้อย 2 ฝั่งตรงข้ามกัน )
สิ่งที่สงสัย - จุดไหน ชิ้นไหนล่ะ ที่บอกว่า ไม่มีตราประทับ เพราะ ข้อกำหนดของ Packaging คือ มีอย่างน้อย 2 ฝั่งตรงกันข้าม ซึ่งก็มี และไม้ที่เป็น Dunnage ก็มีตราประทับ



อีกจุดหนึ่ง เป็นจุดที่ทำให้แทบล้มทั้งยืน คือ คำตัดสิน
Re-Exportation คือส่งคืนกลับทั้งตู้ Container ด้วยข้อกำหนด 7CFR352 และ 7CFR319.40

อันนี้เป็นข้อกำหนดที่ทาง USA มีเฉพาะของตัวเอง และแตกต่างจากประเทศอื่นๆ

7CFR352 คือ ต้องมีการทำเครื่องหมายระบุไว้อย่างเพียงพอ
7CFR319.40 คือ มีการทำเครื่องหมายในจุดที่มองเห็นได้ อย่างน้อยตรงข้ามกันทั้ง 2 ด้าน
และ เครื่องหมายต้องได้รับการอนุมัติจาก ISPM



ข้อแก้ต่าง - ทั้ง 2 หัวข้อ ทางผมก็มีและทำตามระเบียบทุกอย่าง แลัวอะไรล่ะ ?? คือ Lacking ISPM No.15 Marking




จุดนี้ เป็นข้อสงสัย เอกสารมี 2 หน้า แต่ถูกส่งมาหน้าแรก หน้าเดียว ร้องขอทางลูกค้า ( ซึ่งมีหลายบริษัทที่รับงานกันหลายต่อ ) คงต้องให้ ญี่ปุ่น ร้องขอกันเอง น่าจะได้ผลไวกว่าคนไทยร้องขอเอกสารกันเอง


อีกจุดหนึ่ง คือ Agent ออกของที่ USA มีความเข้าใจเรื่อง ISPM No.15 มากน้อยแค่ไหน และมีข้อมูลอะไรที่เป็นพิเศษของทาง USA ที่ทางผมไม่รู้ และไม่ได้บอกหรือไม่ ??



18 January 2013 ลูกค้าต่างชาติ แล้วบริษัทเจ้าของ Product เข้ามาประชุมที่บริษัท
คุยกันในกลุ่มคนญี่ปุ่น สรุปได้ความว่า
"Not Concern" แปลตามประสา กากๆ ว่า "กูไม่เกี่ยวข้อง กูไม่สน"
เพราะขายและส่งมอบเงื่อนไข FOB
อ้าว....เอาละซี ผมต้องอธิบาย FOB ก่อนซักนิดนึง



FOB มาจาก Free On Board 
ความหมายง่ายๆ สั้นๆ คือ ผู้ซื้อจัดหาเรือมารับสินค้าที่ต้นทาง เมื่อสินค้าขึ้นเรือ จะถือว่า ผู้ซื้อได้รับมอบสินค้านั้นๆแล้ว และทำประกัน หรือ อื่นๆเอง
ผู้ขายเพียงแค่ จัดเตรียม จัดหาทุกอย่างเพื่อนำสินค้าขึ้นเรือ

นั่นหมายความว่า ไอ้ญี่ปุ่นที่มาคุยกัน ไม่ได้ข้อสรุปอะไรกับเรื่องนี้เลย
แต่อย่างน้อย ก็ได้ให้ความรู้มันไปอธิบายกับปลายทาง เรื่อง Shipment ถัดๆไป ที่เตรียมจะเข้าท่า USA
เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีก ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ทาง USDA จะฟังข้อพิสูจน์หรือไม่


แต่ ณ. วันนี้ จุดที่ได้รู้แน่ๆ คือ ปัญหาอยู่ที่ไม้สามเหลี่ยม ที่รองม้วนสินค้า เพื่อกันการเคลื่อนใน Pallet นั่นเอง ที่ทาง USDA บอกว่าไม่มีตราประทับ IPPC



สิ่งที่ทางผมโต้แย้งไป คือ นั่นเป็นส่วนประกอบของ Pallet ที่ติดไปกับ Pallet และสินค้า และจะถูกส่งถึงปลายทางพร้อมกันกับสินค้า ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า Dunnage หรือไม้กันกระแทก
ส่วนความหมายของ Dunnage มันคือ ไม้หรือวัสดุกันกระแทก เพื่อกันบรรจุภัณฑ์ไม้ ไม่ให้เคลื่อนไหว และไม่เป็นส่วนหนึงกับสินค้า   

ในวันนี้ ที่รู้คร่าวๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการ ส่งกลับทั้งตู้ อยู่ที่ 100,000 บาท นี่แค่เริ่มต้นเท่านั้น !!
ยังมีค่าใช้จ่ายในการส่งทาง Air Freight

มีภาคต่อไปแน่ๆ ท่ามกลางสภาพความเครียด หมุนๆ มึนๆ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

ขุนน้ำ (หนาว) เย็น : ทริปแห่งความสับสน

ตั้งชื่อไว้ว่า ทริปแห่งความสับสน เนื่องจากว่า
เริ่มแรก อารมณ์ของการเดินทางมันมา เพราะเจ๊แดง บอกว่า ไม่เคยไปนอนช่องเย็นเลย
อ้าว....ก็คุณสามีของเจ้าหล่อนน่ะ ไปนอน จนแทบทุกอณูของที่นั่นแล้ว
เหตุใด ภรรยา ไม่เคยไป...ก็เลย เอาวะ !! ตามใจเจ๊แดง


ป่าวประกาศเพื่อชักชวนเพื่อนๆ พร้อมโทรฯหา เพื่อล็อคเ้ป้าหมาย
วันต่อมา หลานสาว ลูกเพื่อนควาย บอกว่า "อาหมู พาไปเที่ยวหน่อย"
อ้าว เห็นใจหลานขึ้นมาอีก เลย ปั้นเรื่อง ปั้นสถานที่ใหม่อีกครั้ง
ในที่สุดก็เจอ สวนพฤษศาสตร์บ้านร่มเกล้า จ. พิษณุโลก


โอว.....นี่ละ น่าสนใจ
จัดการ Lobby เจ๊แดง ขอให้เปลี่ยนใจไป บ้านร่มเกล้ากันเถิด......
พร้อมกับชวนเพื่อนควาย ....... เพราะลูกๆของมันคงเบื่อช่องเย็น เพราะบ้านอยู่ใกล้ขนาดนั้น
ผลออกมา
เจ๊แดงโอเค ...... แต่เพื่อนควายเงียบ
โอย...เอาไงดี...เลย นัดเจ๊แดงใหม่
เอาวะ ยอมมัน ช่องเย็น ก็่ ช่องเย็น อย่างน้อยเจ๊แดงก็สมหวัง (ตั้งแต่แรก)
และพวกเราจะขโมยหลานๆขึ้นไปช่องเย็น หาก พ่อ แม่ มันไม่ยอมไปด้วย



ผมโทรสั่งเพื่อนควาย ( ต้องใช้คำว่าสั่ง เพราะถ้าถาม เดี่ยวมันลากไปคุยเรื่องรถ แล้วไม่มีคำตอบ )
"มึงเตรียมของกินนะ กูไปถึงแล้ว จะได้เตรียมทำกินได้เลย ไม่ต้องแวะซื้อของสดอีก"
มันตอบกลับมาว่า "อ้าว....ไหนมึงว่าจะไป พิษณุโลก ?"
"เชี๊ยะ......ก็มึงไม่ตอบ ว่าจะไปไหน ยังไง โทรบอกก็ได้...เบอร์กูก็มีใช่ไหม ??? "
เอาเป็นว่า ไป ช่องเย็น ไม่เปลี่ยนใจละ เพราะ เดี่ยวจะเสียอารมณ์เดินทาง

เริ่มเดินทาง ตั้งเป้าไว้ว่า ไปถึง อ. คลองลาน 31 ธันวาคม 2012 ประมาณ 11.00 น.
รอบที่จะขึ้นเขา เป็นรอบ 13.00 น. เมื่อรวมตัวกันเสร็จสรรพ
ก็เดินทาง ติดต่อเจ้าหน่้าที่ ซึ่งแจ้งมาว่า ช่องเย็น "เต็ม" เพราะคนไปคืนก่อน ไม่ยอมลงมา
ผมเลยบอกว่่า ขอนอนที่ "ขุนน้ำเย็น" โอเค ผ่าน !!


รถผม กับรถเพื่อนพงษ์ขึ้นมาก่อน
ส่วนเพื่อนควาย จะพาลูกๆตามมาทีหลัง ( ให้พวกเราลุ้นกันว่า มา - ไม่มา / ค่ำ - ไม่ค่ำ )
โดยที่มันโยนเต๊นท์ และ ทุกอย่า่งขึ้นรถผมมาเรียบร้อย
"มึงกางเต๊นท์ให้กูด้วย"
"โอเค ไม่มีปัญหา"



ช่วงเทศกาลก็รู้ๆกันอยู่ ว่ารถจะเยอะเป็นพิเศษ แล้วก็เป็นจังหะดี ที่ผมฉกเอารถน้องชาย D-Max Cab 4 Hi-Lander ใหม่เอี่ยมมาแทน Sport Cruiser D4D 2.5 เพราะ เกียร์ Automatic + Triptonic ทำให้ขับสบายและมันส์กับการขึ้นลงเขามาก....จริงๆ
 
หลังจากผ่านด่านอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์มาไม่นาน เพื่อนพงษ์ก็ ว. ผ่าน 144.625 มาบอกว่า เสร็จไป 1 ละ ..... เจ๊แดง ผู้มุ่งมั่นใจะไปช่องเย็นมากกว่าใครในทริปนี้ ...อ๊วกแตก เมาไปเรียบร้อย


มาจนถึง ขุนน้ำเย็น ด้วยสภาพที่ ต้องพักฟื้นอยู่พักใหญ่
ผมเลยจัดแจงกางเก้าอี้สองเรา พร้อมยกไปตั้งตรงที่ที่ ไม่มีแดด ให้เจ๊แกนั่งพัก
เสร็จแล้ว ค่อยมากางเต๊นท์ จัดพื้นที่ เพื่อเตรียมนั่งดื่มกิน สัมผัสธรรมชาติ อากาศหนาวเย็น


ชอบภาพด้านบนนี้เป็นพิเศษ ผลงานจาก น้องเจี๊ยก ผู้ติดสอยห้อยตามในทริปนี้



แล้วราตรีก็ผ่านไป อย่างที่เป็นแบบเดิมๆ คือ ผม เดินทางเข้าเต๊นท์ก่อนใคร ในสภาพที่ มาเร็ว ไปเร็ว
จนเช้าวันใหม่ อรุณสวัสดิ์วันปีใหม่ 2013 ที่ 15 องศาเซลเซียส

เดิมที ตั้งใจว่า จะัลงจากช่องเย็นรอบ 11.00 น. แต่หลังจากนั่งคิดๆ งงๆ แถมเพื่อนควายจะลง 08.00 น.
เลยตัดสินใจลงให้ทัน 08.00 น. เหตุผล
1. เพื่อนควายจะลงก่อนที่เวลา 08.00 น. ผมต้องเก็บเต๊นท์ สัมภาระให้มัน
2. หลัง 08.00 น. ถึง 11.00 น. แดดจะมา แถมที่จุดนั้น ไม่มีร่ม เวลาเก็บของคงจะร้อนมาก
3. ผมต้องกลับ กทม. ในวันนั้นเลย ถ้าลง 11.00 น. กว่าจะถึง กทม. คงหมดสภาพแน่ๆ  
4. ผมต้องรีบคืนรถให้น้อง เพราะไม่รู้มันจะเอาคันนี้ไปส่งลูกไป รร. หรือเปล่า 

จริงๆ แล้วผมแอบเสียดายนะ ใจจริงอยากไป สวนพฤษศาสตร์ฯ ร่มเกล้า เพราะ ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก คนน่าจะน้อยกับเทศกาลแบบนี้
ไม่เป็นไร ปักธงไว้ มีโอกาส ก็จะหาโอกาสไป ไม่ไกลเท่าไร
เสียดายอีกเรื่อง คือ ขาประจำทริป ล้อโต [ Yukujung Ini ] ที่หลงทางไปเส้น 304 แถวปราจีนบุรี ( มันต้องมีอะไรเด็ดๆแน่ๆ ) เลยไม่ได้มาร่วมทางกันแบบ แก้ว่าง เพราะ เส้นทางเดิมๆ คุ้นๆ ชินๆ แล้วก็อยากมากันหน้าฝนมากกว่า

โดนส่วนตัว เฉยๆ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ กับทริปนี้
เส้นทางยังแบบเดิม
เพื่อนร่วมทางก็เดิมๆ
อย่างน้อย เจ๊แดงก็ได้มานอน แม้จะไม่ถึงช่องเย็น และดอยผาสวรรค์ อย่างที่ตั้งใจ
อย่างน้อย ก็เจอหลานๆ ที่ไม่รู้สนุกไหม กับการมาเที่ยวใกล้ๆบ้านขนาดนี้

มีเส้นทางอีกเยอะให้ปั้นเรื่องกัน
- สวนพฤษศาสตร์ ร่มเกล้า
- ภูลมโล
เดี๋ยวคงได้ไป !!