เหตุการณ์นี้ คืออะไร เป็นมาอย่างไร
เนื้อหาคร่าวๆ ขอ Copy มาจาก Web Site : The Kop in Thailand
http://www.thekop.in.th/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=45072
Copy ข้อความมาตามอักษรสีเทาเลยครับ [ ขอบคุณ User : Captain-G ด้วยครับ ]
โศกนาฏกรรมที่ Hillsborough เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 1989 ในสนามเหย้าของสโมสร Sheffield Wednesday เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 96 คน ซึ่งเป็นแฟนบอลของสโมสร Liverpool ทั้งสิ้น ถือเป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงที่สุดซึ่งเกี่ยวกับอัฒจันทร์ในอังกฤษ และเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในวงการฟุตบอลระดับชาติ
มันเป็นเกมส์ FA cup รอบตัดเชือก ระหว่าง Liverpool และ Nothingham Forest และเกิดขึ้นหลังจากเริ่มเกมส์เพียง 6 นาทีเท่านั้น
สาเหตุของโศกนาฏกรรมเกิดจากความล้มเหลวในการควบคุมฝูงชนของตำรวจ และเป็นผลให้เกิดการปรับปรุงสนามทั่วเกาะอังกฤษให้เป็นที่นั่งทั้งหมดและนำ รั้วเหล็กกั้นหน้าอัฒจันทร์ออกทั้งหมด
ก่อนเกิดเหตุ
ณ ขณะนั้น อัฒจันทร์ฟุตบอลในอังกฤษส่วนใหญ่มักมีรั้วเหล็กกั้นเพื่อป้องกันพวกนักเลง ลูกหนัง(Hooligan)ซึ่งมีอยู่มากและเหมือนลัทธิที่แพร่กระจายไปทั่ว พวก Hooligan โดยเฉพาะในอังกฤษนั้น มักจะยกพวกตีกัน ขว้างปาสิ่งของ และกระทำความรุนแรงทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน
สนาม Hillsborough เป็นสนามที่ใช้ในการแข่งขัน FA cup รอบตัดเชือกตั้งแต่ปี 1980 ใช้จัดการแข่งขันมาแล้ว 5 นัด
ก่อนหน้านี้เคยเกิดการเหยียบกันมาก่อนที่อัฒจันทร์ฝั่งเดียวกันนี้ในปี 1981 รอบตัดเชือกระหว่า Spur และ Wolverhamton ซึ่งมีผู้บาดเจ็บ 38 คน และทาง Sheffield ก็ได้ทำการปรับปรุงสนาม
ก่อนหน้านั้น 1 ปี Liverpool ทำการแข่ง FA cup กับ Notthingham ณ สนามเดียวกันนี้ และได้รับการรายงานจากแฟนๆหลายคนว่า เกิดการเบียดกันอย่างมาก ที่ พื้นที่หน้ารั้ว ซึ่งทำให้สโมสร Liverpool ได้ทำการร้องทุกข์ก่อนเกมส์ FA cup ปี 1989
โศกนาฏกรรม
ที่ Hillsborough ได้ทำการแยกแฟนบอลออกจากกัน ตำรวจได้แยกแฟน Notthingham ไว้อัฒจันทร์ฝั่งหนึ่งซึ่งมีความจุ 21,000 คน และแยกแฟนบอล Liverpool มาอัฒจันทร์อีกฝั่งที่มีความจุแค่ 14,600 คน ทั้งๆที่แฟนบอล Liverpool มีมากกว่า Forest มาก กำหนดการแข่งวันนั้นเริ่มเวลา 15:00 และได้มีการแจ้งเตือนให้เข้าสนามก่อนเวลา 15 นาที
ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ได้แจ้งในวันนั้นว่าคนที่ไม่มีตั๋วไม่ควรไปในวันนั้น
และมีรายงานข่าวว่าแฟนบอลทั้งที่มีตั๋วและไม่มีตั๋วอีกหลายพันคนมาสายเนื่อง จากไม่ได้รับแจ้งว่าจะมีการซ่อมถนน M62 ที่ Pennines และมาถึงหน้าสนามประมาณ 14.30 - 14.40 ทำให้แฟนบอลที่อยู่หน้าสนามเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย โดยที่แต่ละคนต้องการที่จะเข้าชมเกมส์ให้ทันเวลา
แฟนบอลที่ไม่มีตั๋วเข้าสนามไม่ได้แต่ก็ไม่สามารถออกจากพื้นที่เนื่องจากแฟน บอลที่อัดมาจากด้านหลัง แฟนบอลที่อยู่ด้านนอกได้ยินเสียงเชียร์และโห่ร้องจากด้านในสนามเนื่องจากนัก ฟุตบอลลงสนามก่อนเวลา 10 นาที และอีกครั้งเมื่อเกมส์เริ่มขึ้น แต่แฟนๆด้านนอกก็ยังไม่สามารถเข้าสู่สนามได้ มันไม่มีการเลื่อนการแข่งขัน และมีการตัดสินใจเปิดประตูด้านข้างเพื่อหลีกเลี่ยงความหนาแน่นของแฟนบอลกว่า 5 พันคนด้านนอก
ตำรวจเพิ่มการรักษาความปลอดภัยด้านนอกและเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิด อุบัติเหตุด้านนอก จึงตัดสินใจเปิดประตูหลายประตู โดยเฉพาะประตูทางออกซึ่งไม่มีที่กั้น (เป็นที่กั้นแบบก๊อกแก๊กที่เราเห็นใน makro อ่ะ) ซึ่งทำให้แฟนบอลกรูเข้าไปในประตูทางออกอย่างรวดเร็ว
ความสูญเสีย
ผลของการที่แฟนบอลหลายพันคนกรูเข้าสนามเป็นผลให้แฟนบอลที่อยู่ขอบสนามถูกบด ขยี้กับรั้วจากฝูงมหาชนจากด้านหลังซึ่งไม่รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ หน้ารั้ว ทั้งตำรวจและพนักงานรักษาความปลอดภัยที่โดยปกติจะควบคุมปริมาณคนดู และจะแบ่งคนดูไปอัฒจันทร์ด้านข้างเมื่ออัฒจันทร์กลางเต็ม แต่ ณ วันนั้นกลับไม่มีการดำเนินการใดๆและไม่มีการออกมาอธิบายให้สื่อเข้าใจอย่าง แจ่มแจ้ง
มันใช้เวลาซักพักหนึ่งก่อนที่ทุกคนจะรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากทุกคนนั้นให้ความสนใจกับการแข่งขันซึ่งเริ่มขึ้นแล้ว และมันก็เป็นเวลา 15.06 เมื่อกรรมการ Ray Lewis ได้รับการแนะนำจากตำรวจให้หยุดการแข่งขันหลังจากแฟนบอลเริ่มปีนรั้วเพื่อหนี ความตาย ณ ขณะนี้เองประตูเล็กๆที่หน้ารั้วก็ได้เปิดออกเพื่อให้แฟนบอลหนีออกมา หลังจากนั้นไม่นานรั้วเหล็กก็ได้พังลงจากแรงกดทับอันมหาศาลจากฝูงชน
แฟนบอลแออัดอย่างหนาแน่นจนถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจ บนอัฒจันทร์เต็มไปด้วยแฟนบอลที่บาดเจ็บและตาย ตำรวจและหน่วยกู้ภัยมากันเต็มไปหมด แฟนบอลที่ไม่บาดเจ็บพยายามช่วยผู้บาดเจ็บเท่าที่ทำได้ บางคนพยายามทำ CPR(ปั๊มหัวใจ) บางคนนำป้ายโฆษณามาทำเปลเพื่อช่วยชีวิต
แต่ทั้งๆเหตุการณ์เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนยังปิดทางเดินบางส่วนเพื่อกันแฟนบอล Liverpool และ Forest ออกจากกัน แฟนบอลบางคนพยายามฝ่าวงล้อมของตำรวจเพื่อนำผู้บาดเจ็บส่งรถพยาบาลแต่ก็ถูก ผลักดันกลับไป
สรุปรวมผู้เสียชีวิตในวันนั้น 94 คน ผู้บาดเจ็บ 766 คน และ ประมาณ 300 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาล อีก 4 วันให้หลังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 คน
และหลังจากนั้น 4 ปี ผู้บาดเจ็บที่อยู่ในสภาวะนิทราก็เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 คน
กัปตัน Liverpool Steven Gerrard ณ ขณะนั้นอายุได้ 8 ขวบ ได้เสียพี่ชาย(ลูกพี่ลูกน้อง) ชื่อ Jean Paul ซึ่งเป็นนักเตะทีมสำรองของ Liverpool ในวันนั้น
Don't Buy The Sun
หลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมเพียง 4 วัน The Sun พาดหัวข่าวว่า แฟนบางคนขโมยเงินจากผู้เสียชีวิต , ถ่ายปัสสาวะใส่ตำรวจ มันเหมือนกับการกล่าวหาว่า The KOP ขโมยเงินจากเพื่อนผู้เสียชีวิตด้วยกันเอง และเรื่องนี้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นการกล่าวเท็จ แต่ก็ไม่มีการขอโทษอย่างเป็นทางการจาก The Sun
ในปี 2006 Mackenzie บรรณาธิการในขณะนั้นของ The Sun ว่าเขาไม่เสียใจกับการออกข่าวไปแบบนั้นจนถึงบัดนี้
Kenny Dalglish เคยกล่าวผ่านสื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า :
ภาพที่อยู่ในหนังสือพิมพ์มันยากเกินกว่าจะอธิบาย มีภาพหนึ่งในนั้นเป็นภาพของหญิงสาวสองคนที่หน้าถูกอัดติดอยู่กับรั้วเหล็ก และไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาหนีออกมาได้อย่างไร หลังจากนั้นพวกเขามาที่ Melwood ทุกวัน และภาพพวกนั้นมันทิ่มแทงจิตใจของพวกเราทุกคน หลังจากเห็นภาพเหล่านั้น ผมไม่สามารถทนดูหนังสือพิมพ์ได้อีกเลย
แต่เมื่อ The Sun ออกข่าวว่าแฟนบอลเมาและควบคุมตัวเองไม่ได้ ภายใต้หัวข้อข่าวว่า "ความเป็นจริง" ทำให้คนใน Merseyside ไม่พอใจ เลิกสั่ง The Sun, ไม่เอ่ยถึงขื่อนี้, และเผาทำลายหนังสือพิมพ์ทั้งหมด รวมถึงคนที่ทำงานให้ The Sun ก็ถูกทำร้าย
มันเป็นการโกหก มันทำให้เราเสื่อมเสีย The Star ก็เขียนข่าวรุนแรงเช่นกันแต่เขาก็ลงข่าวขอโทษในวันต่อมา พวกเขารู้ว่าข่าวนั้นมันไม่มีที่มา บรรณาธิการของ The Sun นาย Kelvin Mackenzie ได้โทรมาหาผมว่าจะสามารถแก้สถานการณ์ได้อย่างไรบ้าง
ผมบอกให้เขาแก้พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งใหม่ จากคำว่า The Truth เป็น We Lied ในขนาดที่เท่ากัน แต่เขากลับบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ผมจึงบอกว่า งั้นก็ช่วยไม่ได้ แล้วก็วางหูไป
ด้านล่าง เป็นความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นในสนาม ที่เป็นเหตูการณ์ที่ถือว่าสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่
เรียนรู้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ เพื่อหาทางป้องกัน
แปลจาก http://rac-cuttingsticker.blogspot.com/2012/02/tragedy-sepakbola-terparah-di-dunia.html
01. National Stadium Tragedy / The 1964 Lima football riot of May 24, 1964
Deaths: 318
Location: Peru
Stadium: Estadio Nacional (National Stadium)
Match: Peru and Argentina
Event: Qualifier 1964 Summer Olympics Tokyo
อาร์เจนตินา ชนะในเกมนั้น 1-0
ก่อนหมดเวลา 2 นาที เปรู ได้ประตูจาก Bertolotti Andrés แต่กรรมการไม่ให้เป็นประตู [ ความเห็นส่วนตัว [Natt C. ] : เนื้อหาไม่ได้บอกว่าเพราะอะไร ]
นั่นเป็นจุดเริ่มของความรุนแรงในสนาม และรอบๆสนาม
02. Accra Sports Stadium disaster / Accra, Ghana on May 9, 2001
Deaths: 127
Location: Ghana
Stadium: Accra Sports Stadium
Match: Accra Hearts of Oak Sporting Club and Asante Kotoko
Event: Ghana League.
ทีมเจ้าบ้าน Accra Hearts of Oak Sporting ยิง 2 ประตูในช่วงท้ายเกม ทำให้ขึ้นมาแซงชนะทีม Asante Kotoko เลยสร้างความไม่พอใจกับแฟนบอลทีมเยือน และได้มีการขว้างเก้าอี้พลาสติก และขวดน้ำลงมาในสนาม นั่นเป็นจุดเริ่มของความสูญเสีย
03. Hillsborough disaster / 15 April 1989 Sheffield, England
Deaths: 96
Location: England
Stadium: Hillsborough Stadium
Match: Liverpool and Nottingham Forest
Event: FA Cup semi-final.
อ่านจากด้านบนได้เลย
04. Kathmandu stadium disaster / 12 March 1988
Deaths 93
Location: Nepal
Stadium: Dasarath Rangasala Stadium
Match: -
Event: -
กองเชียร์ที่เข้าไปในสนามจำนวนมาก ในฝั่งตะวันตกของสนามมากจนล้นออกมา กลับถูกตีให้กลับเข้าไปในสนามโดยตำรวจ
[ ความเห็นส่วนตัว [Natt C. ] : เนื้อหาใช้คำว่า Police แต่น่าจะเหมารวม เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน หรือ ทีมรักษาความปลอดภัยด้วย ]
กองเชียร์ได้พยายามกลับเข้าไปยังระเบียงฝั่งทิศใต้เพื่อหาทางออกไปทางอุโมงค์ แต่ไม่สามารถออกไปได้ เนื่องจากทางออกไปอุโมงค์ถูกล็อคไว้ จึงทำให้เกิดความสูญเสียของผู้ที่อยู่ด้านหน้า
05. Port Said Stadium clashes / 1 February 2012
Deaths 79
Location: Egypt
Stadium: Port Said Stadium
Match: Al-Masry Club and Al-Ahly S.C.
Event: Egypt League.
กองเชียร์นับพัน กรูเข้าไปในสนามเพื่อแสดงความยินดีกับทีม Al-Masry
กองเชียร์ทีมผู้แพ้ ก็กรูเข้าไปในสนาม เข้าไปทำร้ายฝ่ายตรงข้ามด้วยมีด ก้อนหิน ขวด และทุกอย่างที่ทำร้ายกันได้
06. 1971 Ibrox disaster / 2 January 1971 Glasgow
Deaths 66
Location: Scotland
Stadium: Ibrox Stadium
Match: Celtic and Rangers
Event: Scottish League.
กองเชียร์หลายคนได้พยายามออกจากสนาม ในช่องบันไดทางออก 13
สันนิษฐานว่า พ่อของเด็กที่อุ้มเด็กอยู่แล้วหลุดมือ เมื่อมีการก้มลงไปเพื่ออุ้มกลับ จึงเกิดการกระทบกับคนอื่นๆเป็นปฏิกิริยาแบบโดมิโน ทำให้ฝูงคนร่วงหล่นลงไปกองรวมกัน
07. Luzhniki disaster / 20 October 1982 Moscow
Deaths 66
Location: Soviet Union (now Russia)
Stadium: Lenin Stadium (now known as Luzhniki Stadium)
Match: FC Spartak Moscow and HFC Haarlem
Event: UEFA Cup second round
แฟนบอลที่อัฒจันทร์บันได 2 ฝั่งตะวันออก กำลังกรูออกจากสนาม
แต่มีหญิงคนหนึ่ง สะดุดและล้มลง คนที่อยู่้ใกล้ๆพยายามจะช่วยเธอลุกขึ้นมา แต่ฝูงชนที่มองไม่เห็นได้กระแทกคนที่ช่วย จนล้มลงกระแทกกับพื้น
08. Bradford City stadium fire / 11 May 1985 Bradford
Deaths: 56
Location: England
Stadium: Valley Parade / the Coral Windows Stadium
Match: Bradford City and Lincoln City
Event: League Third Division
เชื่อกันว่า คงเป็นสะเก็ดไฟที่เกิดจากบุหรี่ที่ทิ้งลงมา ตกลงไปในช่องด้านล่างของอัฒจันทร์ และตกไปโดยสิ่งของที่ติดไฟได้ง่าย จึงเกิดเพลิงไหม้ขึ้น
09. Ellis Park Stadium disaster / 11 April 2001 Johannesburg
Deaths: 43
Location: South Africa
Stadium: Ellis Park Stadium
Match: Kaizer Chiefs and Orlando Pirates
Event: South Africa League
กองเชียร์ได้กรูกันเข้าไปในสนามเพื่อจับจองที่นั่งและชมเกม จากจำนวนที่มากเกินไป ทำให้พวกเขาหล่นไปในช่องที่นั่งของเจ้าหน้าที่
เมื่อบางคนเห็นว่ามีคนตกลงไป จึงทำให้เกิดการแตกตื่น 43 คนได้ถูกบดทับลงกับพื้นจนเสียชีวิต
10. Oppenheimer Stadium disaster / 13 January 1991 Orkney
Deaths: 42
Location: South Africa
Stadium: Oppenheimer Stadium
Match: Kaizer Chiefs and Orlando Pirates
Event: South Africa League
ผู้ตัดสินเป่าให้เป็นประตูกับทีม Kaizer Chiefs ในลูกที่เป็นข้อกังขา
แฟนบอลของ Orlando Pirates ได้ขว้างไปกระป๋อง และผลไม้ใส่แฟนบอลของ Kaizer Chiefs
บ้างก็อ้างว่า มีคนพกมีดไปแทงแฟนบอลของ Kaizer Chiefs
11. 1967 Kayseri Atatürk Stadium disaster / September 17, 1967 Kayseri
Deaths: 40
Location: Turkey
Stadium: Atatürk Stadium
Match: Kayserispor and Sivasspor
Event: Turkey League
กองเชียร์ของทั้งสองทีม ต่างขว้างปาก้อนหิน และสิ่งของใส่กัน
อันธพาลลูกหนังบางคนยังพกมีดและอาวุธเข้าไปทำร้ายกัน
12. Heysel Stadium disaster / 29 May 1985 Brussels
Deaths 39
Location: Belgium
Stadium: Heysel Stadium
Match: Liverpool and Juventus
Event: 1985 European Cup Final
แฟนบอล Liverpool จำนวนมากได้หลุดมาจากช่องรั้ว ที่กั้นระหว่างแฟนบอลทั้งสองทีม โดยมีพื้นที่ที่เป็นกลางกั้นอยู่ แต่ก็มีแฟนบอล Juventus ปะปนอยู่ในนั้น
จากเหตุการณ์นี้ ส่งผลให้ทีมบอลในอังกฤษถูกห้ามแข่ง 5 ปี ส่วน Liverpool ถูกห้ามแข่ง 6 ปี
แฟนบอล Juventus เสียชีวิต 39 คน
13. Burnden Park disaster / 9 March 1946 Bolton
Deaths: 33
Location: England
Stadium: Burnden Park
Match: Bolton Wanderers and Stoke City
Event: FA Cup Quarter-final second-leg
ฉากที่กั้นกองเชียร์ในสนามได้พังทลายลงมา ทำให้กองที่อยู่ด้านบน หล่นลงมาทับกองเชียร์ด้านล่าง
และได้มีการนำคนเจ็บและเสียชีวิตออกจากสนาม
ความเห็นส่วนตัว [Natt C. ] : ความสูญเสียเกิดจากหลายๆเหตุ ลองมองย้อนกลับมาที่ฟุตบอลของไทย อาจจะไม่ค่อยเจอสภาพที่กองเชียร์จำนวนมากในสนาม
แต่ที่เจอบ่อยๆ คือกองเชียร์อันธพาล รวมถึงนักฟุตบอล ผู้บริหารทีม ที่เป็นอันธพาล
อันธพาลในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การใช้กำลังทำร้ายกันอย่้างเดียว ยังรวมถึงการใช้พลังแอบแฝงกดดัน เพื่อให้เกิดการตัดสินในทิศทางที่ตัวเองต้องการ
เขียนเรื่องฟุตบอลก็จำเหตุการณ์หนึ่งได้
เดือนสิงหาคม 2541 ฟุตบอลไำทเกอร์คัพ ทีมไทย พบ ทีมอิืนโดนิเซีย ที่เล่นกันแบบไม่อยากชนะ
เนื่องจากผู้ชนะ จะต้องไปเจอกับทีมเจ้าภาพเวียดนาม
สุดท้าย ทีมอินโดนีเซียตัดสินใจอย่างอัปยศ ด้วยการ ยิงเข้าใส่ประตูตัวเอง ทำให้ทีมไทย ชนะไปแบบงงๆ 3-2 ไปเจอเจ้าภาพ
ต้องเรียกว่า อัปยศทั้ง 2 ทีมครับ ที่เล่นแบบไม่อยากชนะ [ จะเห็นว่าผมไม่เขียนคำว่าทีมชาติ เพราะจะทำให้ชาติอับอาย ]
ปัจจุบันผู้บริหารฟุตบอลไทยชุดนั้น ยังคงโลดแล่นอยู่ในวงการฟุตบอลไทยอยู่อย่าง..........