ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ภควัทคีตา - ท่วงทำนองลีลาแห่งพระ ผู้เป็นเจ้า

-->
ศรีมัทภควัทคีตาหรือภควัทคีตานั้น เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญอันแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ บรรพที่ 6 (ภีษม บรรพ - Bhisma Parva) อันเป็นบทสนทนาตอบโต้ปัญหา อภิธรรมระหว่าง อรชุน (Arjuna - अर्जुन) เจ้าชายองค์ที่ 3 ของตระกูลปาณฑวะ (ปาณฑพ) กับพระกฤษณะ (Krishna - कृष्ण)
ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาการเริ่มต้นการทำสงครามแย่ง ชิงความชอบธรรม เหนือแผ่นดินหัสตินาปุระ ณ ทุ่งกุรุเกษตร เมื่อกองทัพฝ่ายปาณฑวะของอรชุนเคลื่อนพลมาประจันหน้ากับกองทัพฝ่ายโกรวะ (เการพ - कौरव - Kaurava) ขององค์ทุรโยธน์ซึ่งถือได้ว่าเป็นพี่น้องร่วมวงศ์ (จันทรวงศ์) เดียวกัน
ณ เวลานั้นเองอรชุนเกิดความท้อใจไม่ทำสงคราม เนื่องจากต้องมาทำสงครามสังหารเหล่าคณาญาติของตน จึงไม่มีจิตใจที่จะทำการต่อสู้ในสงครามครั้งนี้จนถึงกระทั้งยอมวางอาวุธใน มือลงและพร้อมยอมโดนฝ่ายเการพสังหารโดยจะไม่ยอมตอบโต้


ความทดท้อใจในครั้งนี้ของอรชุนผู้ทนงตนว่ามีฝีมือเก่งกาจใน การทำสงครามและมี ภูมิปัญญาทางพระเวทดีเยี่ยม ต้องถึงกับหันไปขอคำปรึกษากับพระกฤษณะผู้มาทำหน้าที่เป็นสารถี เกี่ยวกับเรื่องทางโลกและทางธรรมที่ตนนั้นไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้ใน เวลาที่ต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
พระกฤษณะจึงได้ไขปริศนาทำลายความเข้าใจผิดๆ ทางความรู้ในพระเวทของอรชุนให้สิ้นไป ถ้อยความการสนทนาตอบโต้ระหว่างพระกฤษณะกับอรชุนนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นยอดแห่งพระเวทและอุปนิษัทเลยก็ว่าได้ เพื่อให้เข้าในในแก่นแท้ของธรรมว่าเป็นเช่นไร
การสนทนาตอบโต้ระหว่างอรชุนกับพระกฤษณะนี้ ก็เปรียบเหมือนจิตใจของมนุษย์เราซึ่งมีทั้งความดีความชั่วรวมอยู่ในร่าง เดียวกัน บางครั้งคนเรานั้นจำต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เรานั้นก็มักจะตัดสินใจไม่ได้ระหว่างเส้นแบ่งดีและชั่ว เพราะต้องยอมรับว่าโลกเรานั้นเป็นทวิธรรม ไม่มีอะไรเลวไปทุกเรื่องและไม่มีอะไรดีไปทุกเรื่อง ดีและเลวนั้นจะผสมอยู่ในร่างเดียวกัน จนทำให้เกิดความทุกข์ ดั่งมีคน 2 คนที่ถกเถียงอยู่ในร่างเดียวกัน เพียงแต่เราจะเลือกดีหรือชั่วนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุดได้ อย่างไรเท่านั้นเอง
จิตทั้ง 2 นั้นจะต่างยกเหตุยกผลมา โต้แย้งกันอยู่เสมอ ตรงนี้เองจึงทำให้เกิดทุกข์ เพราะ เรื่องใดที่แก้ได้ตัดสินใจได้ย่อมไม่เป็นทุกข์ เรื่องใดที่รู้แล้วยอมรับแล้วว่าแก้ไม่ได้จริงๆ ก็จะไม่ทุกข์ แต่ถ้าเรื่องใดนั้นยังอยู่ตรงที่จะแก้ได้หรือแก้ไม่ได้นั่นสิที่ทำให้เรา เกิดความทุกข์
เฉกเช่นดั่งอรชุนผู้คิดว่าตนนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉาน ในทางพระเวท หรือตัวของท่านทั้งหลายเองที่คิดว่าข้ารู้ ข้าเก่ง แต่พอเข้าสู่ช่วงเวลาที่คับขันจริงกลับนำความรู้ที่คิดว่าตนเข้าใจดีแล้วมา ใช้ไม่ได้อย่างถูกต้อง นั่นเป็นเพราะจิตของเขาไม่รู้จริง ไม่มีพุทธิปัญญาไชชอนให้กระจ่าง
พระกฤษณะจึงเปรียบได้ดั่งพุทธิปัญญา ที่มาทำลายความรู้ที่ผิดๆ ในพระเวทของอรชุนทิ้งเสีย แล้วสถาปนาความรู้ที่จริงแท้ อันเป็นหัวใจแก่นแท้ของพระเวทแก่อรชุนเสียใหม่ เมื่ออรชุนเกิดแสงสว่างดวงใหม่ที่บริสุทธิ์ในปัญญาแล้ว เขาจึงได้กลับมาหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้อีกครั้งด้วยปัญญาและกองทัพแห่งธรรม จนในที่สุดก็ได้ชัยชนะกลับมาอย่างสมบูรณ์ทั้งทางกายและใจ
Credit : กาลปุตรา [hindumetting.com] 

------------------------------------
มนุษย์เราเอง มีสิ่งที่เรียกว่าความคิดทางดี ทางร้าย อยู่ในตัวคนเดียวกันเสมอ
หากเปรียบความรู้สึกมนุษย์กับเหตุการณ์ บ้านเมืองเขาเราในตอนนี้ (19 พฤษภาคม 2553)
บ้านเมืองถูกเผา ผู้คนมีความคิดแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย

เอาเรื่อง 19 พฤษภาคม 2553 ก่อน
บางคนพยายามโยงเรื่องของ 17-19 พฤษภาคม 2535 มาเกี่ยวข้อง เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เพื่อบอก(เสมือน)ว่า ตัวเองเป็นพระเอกของเหตุการณ์ แต่คงไม่พูดตรงๆหรอก
ทั้ง 2 เหตุการณ์ ไม่เกี่ยวข้องต่อกัน ทั้งเหตุการณ์ สาเหตุ รูปแบบ
ปี 35 เป็นการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยจริงๆ ไม่มีแอบแฝง

กลับมาเรื่อง ภควัทคีตา
คนบางส่วน ที่มีความรู้สึกชอบความรุนแรง รวมถึงพวก ผสมโรง ได้ระบายออก ก็จะเข้าร่วมกัน ทำลายข้าวของ รวมถึงการปล้นร้านค้า ขโมยของ - นั่นเป็นการแสดงตัว อย่างชัดเจนว่าได้ประโยชน์จากความวุ่นวาย
บางส่วน ไม่อยากให้เกิดความรุนแรง อยากใช้ชีวิตปกติ บ้างก็อยู่ในบ้าน อดอยาก หิวโหย ไปหาอะไรกินก็ไม่ได้ จนเป็นความกดดัน คับแค้น
อาจจะระเบิดออก ด้วยการลั่นกระสุน ใส่ผู้คนที่ก่อความวุ่นวาย
ภาพรวมเลยกลายเป็นความรุนแรงที่มากขึ้น


การตัดสินใจที่ล่าช้า ทำให้ผู้คนตายมากกว่าที่ควรจะเป็น
การตัดสินใจที่ ล่าช้า ทำให้ผู้คนแตกแยกกันมากขึ้น
การตัดสินใจที่ล่าช้า ทำให้เีราสูญเสียวัตถุ โครงสร้างของสถานที่ต่างๆ มากเหลือเกิน 
 อรชุน ! หากเจ้าตัดสินใจในการรบ โดยการรบอย่า่งเด็ดขาดเสียตั้งแต่แรก
ไพร่พล ทหาร ความเสียใจ คงไม่มีมากมายขนาดนี้
จงตัดสินใจ ต่อสู้กับความอยุติธรรม ก่อนที่เจ้าจะสูญเสียมากไปกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น