http://nattprom.blogspot.com/2011/08/ippc.html
คราวนี้มารอบใหม่ สินค้าเป็น Fabric Rolls เพื่อใช้ทำ Air Bag รถยนต์ส่งไปปลายทาง USA
16 January 2013 ทางลูกค้าแจ้งมาว่า มีสินค้า 1 x 40' Container ถูกกักอยู่ที่ USA Customs
เพราะ ไม่มีตราประทับ IPPC - "Lacking ISPM 15 Marking"
เมื่อไปตรวจดูภาพถ่ายของงานนี้ ปรากฎว่า มีตราประทับ IPPC ที่วัสดุกันกระแทก หรือ ศัพท์ที่เรียกกันว่า Wooden Dunnage และมีตราประทับทั้งที่ Pallet ชัดเจน
ณ. วันนี้ ตอนนี้ มีข้อมูลอยู่เพียงแค่นี้ สถานการณ์ยังไม่ชัดเจนว่าจะออกมาในรูปแบบไหน แต่อ่านจากเมล์ที่ได้รับมาจากลูกค้า ที่มีด้านล่างมีการส่งข้อมูลกันหลายหน่วยงาน พบว่า มีการตั้งเป้าแรกไว้ว่า จะส่งคืนตู้ Container นี้ทั้งตู้ กลับประเทศไทย [ The rejected container must be shipped back to Thailand ]
ปัญหาใหญ่ละ ถ้าถูกสรุปกันแบบนี้ เพราะอะไร
ค่าใช้จ่าย Ship Back to Thailand ราว 100,000 บาท และ
ค่าส่งสินค้า Lot ใหม่นี้ทาง Air Freight ที่ไม่รู้ว่า เท่าไร เพื่อให้สินค้าถึงมือลูกค้าโดยที่ Production Line ของลูกค้าปลายทางไม่สะดุด
ผมเดาว่า เรื่องนี้ ต้องถูกกักโดยทาง USDA [ U.S. Department of Agriculture ] เพราะเป็นหน่วยงานอารักขาพันธุ์พืช ของ USA เพราะเป็นหน่วยงานตรง
วันนี้ทั้งวัน เลยต้องอ่าน ถอดคำ ถอดความหมายของ ข้อกำหนด ISPM No.15 และ ข้อกำหนดเพิ่มเติมของ USA เพื่อพิสูจน์ว่า ติดปัญหาที่จุดใด
ตอนนี้ที่ทำได้คือ อธิบายเรื่อง Fumigated Certificate ที่ทางผมส่งให้ลูกค้า ว่า ไม้ทั้งหมดนี้ ถูก Fumigated มาหมดแล้ว และเตรียมขอเอกสารใหม่ หากมีถ้อยคำ หรือข้อความใดไม่ครอบคลุม บอกตรงๆว่า ตอนนี้ ก็ยังไม่รู้ว่า USA ปฏิเสธการรับตู้ Container เข้าประเทศ และจะส่งกลับด้วยเหตุใด
เพราะ ข้อมูลมีมาให้น้อยจริงๆ ไม่รู้ติด ตกหล่น หรือปกปิดกันที่จุดใด
17 January 2013 ราว 10:00 น. โทรไปตามกับลูกค้า เรื่องจะแก้ไขข้อความ Fumigated Certificate ซึ่งได้รับคำตอบว่า
"ไม่ต้องแก้ไขแล้ว ทางนู้นสรุปแล้วว่า ส่งกลับ"
หมดแรงทันทีครับ !!
เมื่อปลายทางสรุปเช่นนั้น ก็ต้องตามนั้น สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ
การขอหลักฐาน Report of Notified เพื่อขอรู้เหตุผลที่ปฏิเสธการนำเข้าประเทศ และ ส่งกลับมาไำทย !!
เอกสารจาก USDA ส่งผ่านมาหาใครบ้างผมไม่แน่ใจ แต่ผมขอจากลูกค้ามา จุดสำคัญ คือ
"Lacking ISPM No.15 Marking" - ปราศจากตราประทับตามข้อกำหนด ISPM No.15
สิ่งที่สงสัย - จุดไหน ชิ้นไหนล่ะ ที่บอกว่า ไม่มีตราประทับ เพราะ ข้อกำหนดของ Packaging คือ มีอย่างน้อย 2 ฝั่งตรงกันข้าม ซึ่งก็มี และไม้ที่เป็น Dunnage ก็มีตราประทับ
อีกจุดหนึ่ง เป็นจุดที่ทำให้แทบล้มทั้งยืน คือ คำตัดสิน
Re-Exportation คือส่งคืนกลับทั้งตู้ Container ด้วยข้อกำหนด 7CFR352 และ 7CFR319.40
อันนี้เป็นข้อกำหนดที่ทาง USA มีเฉพาะของตัวเอง และแตกต่างจากประเทศอื่นๆ
7CFR352 คือ ต้องมีการทำเครื่องหมายระบุไว้อย่างเพียงพอ
7CFR319.40 คือ มีการทำเครื่องหมายในจุดที่มองเห็นได้ อย่างน้อยตรงข้ามกันทั้ง 2 ด้าน
และ เครื่องหมายต้องได้รับการอนุมัติจาก ISPM
ข้อแก้ต่าง - ทั้ง 2 หัวข้อ ทางผมก็มีและทำตามระเบียบทุกอย่าง แลัวอะไรล่ะ ?? คือ Lacking ISPM No.15 Marking
จุดนี้ เป็นข้อสงสัย เอกสารมี 2 หน้า แต่ถูกส่งมาหน้าแรก หน้าเดียว ร้องขอทางลูกค้า ( ซึ่งมีหลายบริษัทที่รับงานกันหลายต่อ ) คงต้องให้ ญี่ปุ่น ร้องขอกันเอง น่าจะได้ผลไวกว่าคนไทยร้องขอเอกสารกันเอง
อีกจุดหนึ่ง คือ Agent ออกของที่ USA มีความเข้าใจเรื่อง ISPM No.15 มากน้อยแค่ไหน และมีข้อมูลอะไรที่เป็นพิเศษของทาง USA ที่ทางผมไม่รู้ และไม่ได้บอกหรือไม่ ??
18 January 2013 ลูกค้าต่างชาติ แล้วบริษัทเจ้าของ Product เข้ามาประชุมที่บริษัท
คุยกันในกลุ่มคนญี่ปุ่น สรุปได้ความว่า
"Not Concern" แปลตามประสา กากๆ ว่า "กูไม่เกี่ยวข้อง กูไม่สน"
เพราะขายและส่งมอบเงื่อนไข FOB
อ้าว....เอาละซี ผมต้องอธิบาย FOB ก่อนซักนิดนึง
FOB มาจาก Free On Board
ความหมายง่ายๆ สั้นๆ คือ ผู้ซื้อจัดหาเรือมารับสินค้าที่ต้นทาง เมื่อสินค้าขึ้นเรือ จะถือว่า ผู้ซื้อได้รับมอบสินค้านั้นๆแล้ว และทำประกัน หรือ อื่นๆเอง
ผู้ขายเพียงแค่ จัดเตรียม จัดหาทุกอย่างเพื่อนำสินค้าขึ้นเรือ
นั่นหมายความว่า ไอ้ญี่ปุ่นที่มาคุยกัน ไม่ได้ข้อสรุปอะไรกับเรื่องนี้เลย
แต่อย่างน้อย ก็ได้ให้ความรู้มันไปอธิบายกับปลายทาง เรื่อง Shipment ถัดๆไป ที่เตรียมจะเข้าท่า USA
เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีก ซึ่งก็ไม่รู้ว่า ทาง USDA จะฟังข้อพิสูจน์หรือไม่
แต่ ณ. วันนี้ จุดที่ได้รู้แน่ๆ คือ ปัญหาอยู่ที่ไม้สามเหลี่ยม ที่รองม้วนสินค้า เพื่อกันการเคลื่อนใน Pallet นั่นเอง ที่ทาง USDA บอกว่าไม่มีตราประทับ IPPC
สิ่งที่ทางผมโต้แย้งไป คือ นั่นเป็นส่วนประกอบของ Pallet ที่ติดไปกับ Pallet และสินค้า และจะถูกส่งถึงปลายทางพร้อมกันกับสินค้า ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า Dunnage หรือไม้กันกระแทก
ส่วนความหมายของ Dunnage มันคือ ไม้หรือวัสดุกันกระแทก เพื่อกันบรรจุภัณฑ์ไม้ ไม่ให้เคลื่อนไหว และไม่เป็นส่วนหนึงกับสินค้า
ในวันนี้ ที่รู้คร่าวๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการ ส่งกลับทั้งตู้ อยู่ที่ 100,000 บาท นี่แค่เริ่มต้นเท่านั้น !!
ยังมีค่าใช้จ่ายในการส่งทาง Air Freight
มีภาคต่อไปแน่ๆ ท่ามกลางสภาพความเครียด หมุนๆ มึนๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น