ก็เลยค้นคว้า หาข้อมูลสักนิดนึง ประดับความรู้
รูปสิงห์เป็นที่นิยมแพร่หลายในศิลปะอินเดียและชาวภารตะก็ถือว่าสิงห์เป็น สัญลักษณ์แห่งอำนาจและความกล้าหาญ ทุกวันนี้ชาวอินเดียก็ใช้หัวสิงห์ที่ยอดเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช
เป็นสัญลักษณ์ของทางราชการ
(ว่ากันว่า) สิงห์เป็นสัตว์ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ แต่ต่อมามีความคิดเรื่องสัตว์หิมพานต์เข้ามาในความเชื่อเรื่องจักรวาลของไทย ทำให้ช่างคิดค้นนำเอาสิงห์ไปผสมกับสัตว์อีกหลายชนิด กลายเป็นกลุ่มสัตว์ที่เข้าใจว่าอาศัยในป่าหิมพานต์ไป
ดังเช่น ด้านล่าง
---------------------------------------------------
สิงห์เป็นสัตว์ที่ดูสง่า และน่าเกรงขาม สิงห์ในตำนานหิมพานต์สามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ ชนิดหลักๆ คือ ราชสีห์ และ สิงห์ผสม
- ราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังสูง ราชสีห์มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิดคือ บัณฑุราชสีห์ กาฬสีหะ ไกรสรราชสีห์ และ ติณสีหะ
- ส่วนสิงห์ผสมนั้นมีอยู่มากมาย โดยปกติสิงห์ผสมคือสัตว์ประสมที่มีลักษณะของ ราชสีห์กับสัตว์ประเภทอื่น
บัณฑุราชสีห์
บัณฑุราชสีห์ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและ เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มีร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม
กาฬสีหะ
กาฬสีหะ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังเป็นราชสีห์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า "กาฬ" แปลว่าดำ)
ถึงแม้กาฬสีหะจะกินเฉพาะพืช แต่ก็ใช่ว่าจะมีกำลังวังชาด้อยไปกว่าราชสีห์ชนิดอื่น ราชสีห์ทุกชนิดมีเสียงคำราม อันทรงพลัง ในตำนานกล่าวว่าเพียงเสียงคำรามของราชสีห์ก็สามารถทำให้ สัตว์อื่นเจ็บได้
ไกรสรราชสีห์
ในตำนานพระเวสันดร มีตอนหนึ่งกล่าวถึงไกรสรราชสีห์ ในเรื่องบรรยายว่าเป็นสัตว์ทรงพลัง กายเป็นสิงห์ มีขนแผงคอ ริมฝีปาก ขนหาง และเล็บเป็น สีแดงดั่งผ้ารัตนกัมพล
ไกรสรราชสีห์เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้่อยเป็นอาหาร
ติณสีหะ
ติณสีหะ มีกายสีแดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืชเป็นอาหาร ลักษณะเด่นอีกอย่างของ ติณสีหะคือมีเท้าเป็นกีบแบบม้า
เกสรสิงหะ
เกสรสิงห์ หรือกาสรสิงห์เป็นสิงห์ืี่มีส่วนผสม ระหว่างราชสีห์กับสัตว์ประเภทวัวควาย กาสรสิงห์มีผิวกายสีเทา ร่างเป็นแบบสิงห์ แต่มีเท้าเป็นกีบเหมือนเท้าควาย
เหมราช
ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ เหมราชเป็นสัตว์ผสมที่มีร่างเป็นสิงห์ส่วนหัวเป็นเหม เหมเป็นสัตว์ในวรรณคดีไทยชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่ามีลักษณะเหมือนหงส์(ห่าน) แต่ในบางรูป ก็วาดเหมเหมือนสัตว์ตระกูลจระเข้
คชสีห์
คชสีห์ เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง
ตามตำรากล่าวว่าคชสีห์มีพลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน
ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม คชสีห์มีลักษณะคล้ายสัตว์หิมพานต์อีกชนิดหนึ่งชื่อทักทอ
ไกรสรจำแลง
ไกรสรจำแลงมีหัวแบบมังกร และมีร่างเป็นราชสีห์(สิงโต) จิตรกรบางท่านเรียกไกรสรจำแลงว่า "ไกรสรมังกร" ซึ่งมีความหมาย ตรงตัวว่ามังกรสิงห์
ไกรสรคาวี
สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะผสมระหว่างสิงโตและวัว. ในรูปจิตรกรรมไทย มักวาดไกรสรคาวีเป็นสัตว์ที่มีช่วงหัวเป็นม้าและมีร่างเป็นสิงโต จิตรกรบางท่านวาดไกรสรคาวีเป็นสิงห์ที่มีหัวเป็นวัว แต่มีหางเหมือนม้า
ไกรสรนาคา
ไกรสรปักษา
ไกรสรปักษา เป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับ
นกตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี
ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย
โลโต
โลโต มีร่างกายเป็นสิงห์สีน้ำตาล
ลักษณะเด่นคือมีเท้าแบบกรงเล็บ ชื่อโลโต เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก
ไม่ทราบว่าจริงๆแล้วแปลว่าอะไร แต่ในภาษาจีนคำว่า โลโต แปลว่าอูฐ
พยัคฆ์ไกรสร
พยัคฆ์ไกรสร มีส่วนประสมระหว่างสิงห์กับเสือ
ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนเสือลายพาดกลอน หรือ เสือเบงกอล ส่วนตัวเป็นแบบสิงโต
ตามจริงแล้วในโลกมนุษย์ ก็มีสัตว์ที่มี ลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน นั่นก็คือ
"Liger-ไลเกอร์" (สัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นสิงโต และมีแม่เป็นเสือ) หรือ
"Tigon-ไทกอน" สัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นเสือ และมีแม่เป็นสิงโต)
สิงฆ์
นอกเหนือจากที่มีอธิบายไว้ว่ามีกายสีม่วงอ่อน สิงฆ์มีลักษณะเหมือนราชสีห์ทั่วไป
สิงหคาวี
สิงหคาวี มีลักษณะคล้สายกับ ไกรสรคาวี ทั้งคู่เป็นสัตว์ผสมที่มีหัวเป็น วัว และมีตัวเป็น สิงห์
สิงหคักคา
สิงหคักคา หรือสีหะคักคา มีกายเป็นเกล็ดสีม่วงเข้ม แม้จะมีส่วนหัวและตัวเป็นสิงห์ กลับมีเท้าเหมือนช้าง
สิงหพานร
สิงหพานร มีขนกายสีแดง ช่วงบนมีลักษณะเป็นวานรหรือลิง
ส่วนช่วงล่างและหางมีลักษณะของสิงห์ แต่ช่วงเท้ากลับมี
ลักษณะเหมือนอุ้งเท้าลิง
สิงโตจีน
สิงโตจีน เป็นสัตว์ที่ไทยเราได้มาจากประเทศจีน
สิงโตจีนโดยปกติ จะมีขนปกคลุมยาวต่างจากสิงห์ชนิดอื่น ในประเทศไทย
ท่านสามารถพบสิงโตจีนได้ทั่วไปตามวัดวาอาราม หรือ
แม้กระทั่งศาลเจ้่าจีนเกือบทุกแห่ง
สีหรามังกร
สิงห์ชนิดนี้มีหัวเป็นมังกร มีร่างเป็นสิงห์สีน้ำตาล คนทั่วไปมักจำ สีหรามังกร สับสนกับ ไกรสรจำแลง
เทพนรสีห์
เทพนรสีห์ เป็นสัตว์ผสมที่มีกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ส่วนท่อนล่างเป็นสิงห์ แต่ในบางตำราก็ว่ามีช่วงล่างเป็นกวาง ตัวเมียเรียกว่า "์อัปสรสีห์"
ฑิชากรจตุบท
ฑิชากรจตุบท เป็นสิงห์ที่มีลักษณะของนก คำว่า จตุบท มาจากคำว่าจตุ ซึ่งแปลว่า ๔ และ คำว่า บท มาจากคำว่า บาท ซึ่งหมายถึง เท้า
ส่วนคำว่าฑิชากรแปลว่านก ในตำราบรรยายว่า สัตว์ชนิดนี้มีกายสีเขียวอ่อน ส่วนหางมีสีเหลือง
ส่วนคำว่าฑิชากรแปลว่านก ในตำราบรรยายว่า สัตว์ชนิดนี้มีกายสีเขียวอ่อน ส่วนหางมีสีเหลือง
โต
โต มีลักษณะคล้ายสิงห์แต่ส่วนหัวมีเขา ๒ เขา ว่ากันว่าชื่อ โตนี้ได้มาจากชื่อสัตว์ในตำนานของประเทศลาว
โตเทพสิงฆนัต
โตเทพสิงฆนัต เป็นสัตว์ตระกูลสิงห์ มี กายสีน้ำตาล
ชื่อของสัตว์ชนิดนี้มาจากคำว่า โต และ สิงฆนัต ทั้งสองคำ มีความหมายพ้องกันคือ แปลว่าสิงโต
ทักทอ
ทักทอ เป็นสัตว์ประหลาดอีกชนิดแห่งโลกหิมพานต์ มีกายท่อนล่างเป็นสิงห์ ส่วนหัวเป็นช้าง ผู้อ่านมักสับสนกับคชสีห์ เพราะทั้งคู่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จุดต่างของสัตว์ทั้งสองคือ ทักทอมีเครา และผมตั้งไปข้างหน้า
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/10/ShaoSiamYumKung/WebPage/Singha.html
http://www.himmapan.com
ความเห็นส่วนตัว [ Natt C. ] : แก้ไขบางคำที่ต้นฉบับผิดแล้ว
http://www.himmapan.com
ความเห็นส่วนตัว [ Natt C. ] : แก้ไขบางคำที่ต้นฉบับผิดแล้ว
------------------------------------------
ความเห็นส่วนตัว [ Natt C. ] : จากการค้นคว้าข้อมูล และความเชื่อ
บางคนที่มักจะสร้างรูปปั้นสิงห์ ไว้ที่หน้าบ้าน หรือ ตามวัดบางแห่ง โดยเฉพาะทางภาคเหนือของไทย ก็มักจะสร้างรูปปั้นสิงห์ ไว้ที่ทางเข้าศาสนสถาน เพื่อแฝงนัยยะ ของการมีผู้คุ้มครองสถานที่นั้นๆ
บางแหล่งยังกล่าวว่า สิงห์คู่นั้น เป็นเพศผู้ 1 ตน เพศเมีย 1 ตน
บางความเชื่อ มักจะดูแลสิงห์ที่อยู่หน้าบ้านให้มีความสวยงาม สมบูรณ์ มีสง่า เพราะหากรูปปั้นสิงห์นั้นๆ เป็นรอยบิ่น หัก ตามแขน ขา ฟัน ฯลฯ ก็จะส่งผลไม่ดีให้กับสถานที่นั้นๆ
อันนี้ เป็นความเชื่อนะครับ แล้วแต่วิจารณญาณ
------------------------------------------
เรื่องของความเชื่ออีกประการหนึ่งคือ
เรื่องการงาน สิงห์ เป็นสัตว์ย่อมหาอาหารไปโดยลำพัง พอได้อาหารสิ่งใด ก็กินในสิ่งนั้น ไม่เลือกว่าจะดีหรือเลว อย่างใดในข้อนี้ เรานำมาปฏิบัติตามแบบอย่างธรรมชาติของสิงห์ได้ ๒ ประการ คือ
๑. ต้องอย่าเลือกงาน งานทุกอย่างที่สุจริตเป็นงานมีเกียรติทุกอย่าง งานที่ไร้เกียรติก็มีแต่งานที่ทุจริตเท่านั้น
๒. ต้องมีความเป็นอยู่ง่ายๆ จงนึกว่าเรากินอาหารกินคุณค่าของอาหารมิใช่กินสีของอาหาร และมิใช่กินรสของอาหาร คนกินอาหารไม่มีเรื่องยุ่ง แต่ถ้ากินรสแล้วยุ่งมากในบางคราว
(ข้อมูลจาก User แมงคอลั่น : http://www.chiangraifocus.com)
------------------------------------------
เพลงจากอัลบั้มโปรด ที่ฟังกี่ครั้งก็ไม่มีเบื่อ : วงตาวัน ชุด 12 ราศี
ห่วงใย
คำร้อง : ศุ บูญเลี้ยง
ทำนอง : พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
หมดกำลังไร้เรี่ยวแรง เคยเข้มแข็งเพียงใดไม่พอ
ขออำลาฝืนชะตาทำไม
จะจดจำให้ขึ้นใจ ทุ่มเทรักให้ไปเต็มเปี่ยม
เธอตอบแทน เพียงเสี้ยวจันทร์ข้างแรม
*ตราบใดที่ดาวห่วงฟ้า ยังห่วงใย
ทนมานานก็เพราะรักเธอหมดใจ (รอเวลาซ่อนน้ำตาเดินจากไกล)
เจ็บเมื่อยามเขาใกล้เธอ ไม่เคยเผลอว่าเธอสักคำ
ซ้ำลงไป ย้ำจนใจมันชา
เจ็บเพียงใดรักยังอยู่ ให้เธอรู้ฉันยอมไกลห่าง
อย่างคนไม่มีน้ำตา
ราศีสิงห์ : สัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ อำนาจ และทนงในศักดิ์ศรี แต่บางครั้งก็มีความอ่อนไหวอยู่ลึกๆ