ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

กลับบ้าน : ขนของใช้จากต่างประเทศกลับบ้านเรา

กลับบ้าน : ขนของใช้จากต่างประเทศกลับบ้านเรา

ด้วยความที่มีเพื่อน ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ หลายคน หลากหลายประเทศ
แล้วอยากกลับบ้าน หรือขนของใช้ส่วนตัวกลับ
ในที่นี้ขอเรียก ต่างประเทศต่างๆ ว่า "บ้านนอก" ละกัน
เพราะมันเป็นบ้านของเขาเหมือนกัน ที่อยู่ข้างนอก

ก็ต้องทำความเข้าใจอีกอย่าง ว่า แต่ละประเทศ พิธีการ และการคิดค่าใช้จ่ายอาจจะต่างกัน
ในเรื่องของ ภาษี และค่าใช้จ่ายต่างๆ

แล้วก็ต้องทำความเข้าใจอีกอย่าง ว่านี่เป็นการขนของ ไม่ใช่การยัดใส่กระเป๋าเดินทาง
ที่เอาของไปพร้อมกับตัวผู้เอาของใช้กลับ !!

เราจะเอาของใช้ จำนวนมาก กลับบ้านทางเรือกัน
เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย จากปริมาณของที่มากมายเหลือเกิน

รับ-ส่ง สินค้า ทางเรือ

เราจะไม่พูดถึงการขายของก่อนกลับจากบ้านนอกกัน
เพราะอันนี้ ใครๆ หรือ เจ้าของก็น่าจะทำกันเป็นปกติ
ที่จะต้องลงขายของ หรือ ยกให้ฟรีๆ สำหรับของที่เกินความจำเป็นในการกลับบ้าน

1. เริ่มต้นด้วยการ คัดแยกของก่อนเลย
อะไร ควรเก็บและแพ็คไปด้วยกัน รวมกันเป็นกลุ่มๆ (หรือ กอง) ไว้

** ขนาดของสิ่งของ สำคัญ - ขนาดนี่แหละ จะทำให้คุณต้องจ่ายมาก หรือน้อย
หลายคนบอกคิดตามปริมาตร แต่วิธีคิด คือ
FT หรือ
Freight Ton หรือ
1000 Kgs. in weight or 1 M3 in measurement which ever is greater in revenue. หรือ
น้ำหนัก 1 ตัน หรือ ปริมาตร 1 คิวบิกเมตร อยู่ที่ อย่างไหนมากกว่ากัน

 

ซึ่งโดยปกติ หรือโดยส่วนมากแล้ว ข้าวของเครื่องใช้ ไม่หนักมากขนาดเป็นตันๆหรอก จึงถูกคิดเป็น ปริมาตรแทน


** ความแข็งแรงของสิ่งของ สำคัญ - เพราะสิ่งของนั้นนั้น อาจถูกนำไปรวมกับสินค้าของคนอื่นๆ เพื่อรอการบรรจุ
แบบ Consolidate Container  คือสินค้าหลายรายรอรวมบรรจุในตู้ Container เดียวกันจนเต็มตู้
หรือถ้าของคุณมีเยอะมาก คุณอาจจะเหมาตู้ไป
แบบ [ FCL : Full Container Load ] คือการบรรจุสินค้าแบบเต็มตู้ Container โดยมีของคุณรายเดียว

การส่งกลับไปแบบ FCL ดีตรงที่คุณสามารถเอาของใช้ส่วนตัวกลับ โดยขั้นตอนอาจจะกระชับกว่า เพราะไม่ต้องรอตรวจของร่วมกับคนอื่นๆ และคุณสามารถสั่ง Agent ว่าอะไร วางก่อน-หลัง ล่าง-บน เพื่อเลี่ยงการเจอของชาวบ้านที่หนักกว่า วางบนของที่เปราะบาง ของคุณ

 

ตู้ 20' Container ปริมาตรอยู่ที่ 33 M3 โดยประมาณ
แต่ไม่ใช่ว่า คุณจะยัดได้เต็ม 33 M3 นะครับ เพราะ ลองนึกภาพของใช้ส่วนตัวของคุณ
มีหลากหลายขนาด มี Dead Space จากการวางแล้วเกิดช่องว่าง
คำนวนคร่าวๆ เวลาผมสอนคนของผม คือ 80% ก็ราวๆ 26 M3

 


** น้ำหนักสิ่งของ สำคัญรองลงมา - ที่บอกว่า รองลงมา ก็กรณีคุณส่งมาแบบ FCL น่านละ
แล้วก็อย่างที่เกริ่นไว้ ของส่วนตัวน้ำหนักคงไม่มาก

มีชาวต่างชาติ ที่เข้ามารับงานในเมืองไทยรายหนึ่ง
พี่แกขนของ จากบ้านนอกของแก ใส่ตู้ 20' Container มาเต็มๆ
ประหนึ่งว่า แกจะมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่
แม้กระัทั่ง ซ๊อสปรุงรส แกยังยัดใส่ตู้ Container มาด้วย
คนของผมเปิดตู้ออกมา เห็นของ ก็บ่นกันในใจว่า
"มันไม่คิดจะซื้ออะไรบ้านเราบ้างหรือ ไงฟระ?"
ก็แน่ละ ทำงานบริษัทสายเรือ อะไรยัดใส่ตู้มาได้ แกก็สั่งยัดมาให้เต็มที่
ยังไม่นับตุ๊กตายาง ที่ฝากกัปตันเรือมาอีกนะ......อันนี้ ผมอำลูกค้าเล่น...555

2. หา Agent ที่รับงานเอาของกลับบ้าน
อันนี้ แล้วแต่ประเทศต้นทาง ว่าแต่ละที่ มีเงื่อนไข พิธีการอย่างไร
เจ้าของสินค้า ต้องบอกกับ Agent เพื่อสำแดงในเอกสารให้ศุลกากร

 

ยกตัวอย่าง จาก USA มาประเทศไทย เรือเดินทางประมาณ 45 วัน
แล้วแต่สายเรือ บางสาย เดือนละครั้ง บางสาย มากกว่า
แล้วแต่ว่า Agent นั้นๆ จะใช้สายเรือไหน
ค่าใช้จ่ายตกราว 250 บาท / กก. โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับสิ่งของด้วย
[ อ้างอิงจาก us-hop.com ]

Shipping Goods 

3. เริ่มยัดของลงกล่องกันซะที - กรณีไป Consolidate Container อ่านดีๆ
ส่วนส่งของกลับไปทาง FCL ก็ไม่ต้องกังวลมาก

หลังจากเช็คกับ Agent กำหนดวันส่งของให้ Agent แล้ว
อันนี้ รายละเอียดก็ไปจัดการกันเอง จะส่งให้ Agent หรือให้ Agent จัดรถมารับ
ก็แล้วแต่ความสะดวก ความถนัด

ยกตัวอย่าง ของใช้ส่วนตัวเรา 15 กล่อง ไปแบบ Consolidate Container
เมื่อยัดของใส่กล่อง ถ้าแนะนำ อยากแนะนำให้หากล่องขนาดเดียวกัน
เพราะยิ่งหลายหลายขนาด อาจจะสร้างปัญหา เวลาเจอ Shipping Low Grade
และทำให้การคำนวน Freight Ton ทำได้ง่าย ชัดเจน
ไม่หงุดหงิดใจทีหลัง เวลาที่ถูกคิด Freight Ton มากกว่าของจริง

 

เราเตรียมของเราให้พร้อมก่อน จะดีกว่า ซึ่งหากเราใช้กล่องขนาดเดียว
เมื่อเคลียร์ของปลายทาง กับ Consolidate Container จะทำให้ Shipping ทำงานง่าย
เพราะเราแค่บอกว่า กล่องของเราขนาดนี้นะ มี 15 กล่องนะ

แถมให้เผื่อเจอ Shipping Low Grade หรือพวกเมาค้างมาทำงาน อาจจะ งงๆ เอ๋อๆบ้าง
แนะนำว่า หากระดาษ หรือ Sticker สีแจ่มๆ เขียนแล้้วติดมุมกล่อง
1 แผ่น ต่อ 1 กล่องก็พอ
เขียนจำนวนกล่องของเรา เช่น 1/15 , 2/15 , 3/15 ....เพื่อให้ Shipping ต้นทาง-ปลายทางสังเกตง่ายขึ้น
แล้วจะได้ไม่พลาด หรือ ล่าช้าเกินไป
หรือหากคุณเป็นคนละเอียดหน่อย อาจจะบันทึกใส่สมุด ว่า กล่องไหน ใส่อะไร จะได้ง่ายเวลากลับมาบ้านแล้ว เลือกว่า จะแกะกล่องไหนก่อน-หลัง




4. รอรับของที่บ้านเรา - หลังจากของเดินทางมาถึง Shipping ปลายทาง จะดำเนินการนำของออก
อาจจะท่าเรือ หรือ ตามบริษัทที่รับเปิดตู้ Container ก็แล้วแต่บุญ-กรรมที่ทำกับ Shipping
หรือบางราย อาจจะบริการส่งถึงบ้าน ก็อาจจะถูกบวกเพิ่มนิดหน่อย
แต่แนะนำว่า จ่ายเถอะครับ !!
การติดต่อรับของจาก Shipping หลังจากตู้มาถึง เปิดตู้นำของออกเสร็จ
ขั้นตอนพวกนี้ ใช้เวลา อาจจะทำให้คุณเองเสียเวลางาน เสียเวลาทำธุรกิจของคุณเอง
ผมมองว่า เวลาของคุณ มีค่ากว่าการมาเพื่อ........
- รอการเปิดตู้ Container นำสินค้าออก
- รอเวลาที่คนงานจะว่างเปิดตู้ Container ของคุณ
- รอการคัดแยกของ
- รอ Load ของขึ้นรถของคุณ
- ฯลฯ หากเจอปัญหาอื่นๆ

ด้านล่างนี้ เอามาฝากจาก กรมศุลกากร

การนำเข้าของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว

ชาวไทยที่อยู่ต่างประเทศเกินกว่า 1ปี ที่ไม่ได้อยู่เพื่อการท่องเที่ยว มีสิทธิ์นำเข้าของใช้ในบ้านเรือนโดยปราศจากภาระภาษีอากร นอกจากนี้ชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนามายังประเทศไทยอาจนำเข้าของใช้ใน บ้านเรือนโดยปราศจากภาระภาษีอากรเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะดังจะแสดงด้านล่างนี้
คำว่า “ของใช้ในบ้านเรือน” รวมถึงสินค้าทุกชนิดที่จำเป็นจะมีไว้ในบ้านเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์ พรม หนังสือ เครื่องดนตรี ภาพวาด เครื่องครัว วิทยุ ผ้าลินิน และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น ผู้นำเข้าต้องเป็นเจ้าของ ครอบครอง และใช้ของใช้เหล่านี้ก่อนกลับประเทศไทยเพื่อได้รับสิทธิในการนำเข้าโดย ปราศจากภาระภาษีอากร ความเป็นเจ้าของ การครอบครอง และการใช้งานเป็น 3 เงื่อนไขสำคัญในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น หากของเหล่านี้มีการโอน และครอบครอง โดยไม่ได้ใช้งาน ผู้นำเข้าต้องชำระค่าภาษีอากร
ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำติดตัวมาด้วยขณะเดินทางเข้าหรือออกจากประเทศ ไทยรวมทั้งสินค้าอื่นๆที่ใช้หรือจะใช้เพื่อการค้าไม่ถือว่าเป็นของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วและไม่สามารถนำเข้าโดยปราศจากภาระภาษีอากรได้



12 ความคิดเห็น:

  1. ผมเป็นคนไทย มาอยู่ประเทศเยรมันได้22ปีแล้ว แล้วปีหน้าจะย้ายกลับไปอยู่ที่เมืองไทย แต่อยากจะเอารถช็อบเป้อกลับไปด้วย ต้องเสียเงินค่าภาษีแพงๆอย่างที่เขาเล่ากันไหมครับ?

    ตอบลบ
  2. มอเตอร์ไซค์นี่ ไม่ค่อยรู้รายละเอียด แต่ถ้ารถยนต์ ต้องดูว่า เราได้ครอบครองมาระยะเวลานานมากน้อยขนาดไหน
    ครอบครองนาน ภาษีก็ลดลง ตามสัดส่วน ถ้าโดนภาษีแบบเต็มๆ คือครอบครองน้อยกว่า 2 ปี ก็ราว 300% ของมูลค่า

    บางผู้นำเข้า จะใช้วิธีแยกส่วน เป็นอะไหล่ แล้วมาจดประกอบ ภาษีก็จะต่ำหน่อย แต่ก็มายุ่งเรื่องการจดทะเบียนในไทยต่ออีก

    หวังว่าคงครอบครอบรถในเยอรมันนานหน่อยนะครับ ภาษีจะได้ลดลงหน่อย ... ช่วยลุ้นด้วยคนครับ

    ตอบลบ
  3. พอทราบบริษัทที่ส่งของโดยคอนเทนเนอร ในเยอรมันดีบ้างใหมค่ะ รบกวนแนะนำด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ จะย้ายกลับเมืองไทยเดือน ตุลาคม ปี สองพันสิบหกนี้ค่ะ brueg56@gmail.com

    ตอบลบ
  4. รบกวนถามนะค่ะ เราบรรจุของในกล่องไม้ กล่องแบบที่เค้าส่งเครื่องจักร เนื่องจากที่บริษัทที่เราทำงานเป็นบริษัททำเครื่องกำจัดขยะก็จะต้องส่งของไปต่างประเทศหลายประเทศก็สร้างกล่องเอง เราก็เลยให้เพื่อนร่วมงานสร้างกล่องขึ้นมาให้หนึ่งกล่อง จ่ายค่าใช้จ่าย เรียบร้อย แล้วก็เอาเราพ่วงไปรับกลับมาบ้านเพื่อบรรจุของ แจ้งทางบริษัทจัดส่งว่าเราทำกล่องเช่นนี่ ทางบริษัทก็บอกโอเค แต่ที่อยากถามและทราบ ทางเมืองไทยล่ะ ชิปปิ้งลำบากอย่างไร ตรวจสอบอย่างไร อย่างเช่นเครื่องจักรเค้าเช็กกันเช่นไหร่ ลำบากมากกว่า ที่ บรรจุเป็นกล่องๆ กับการที่เราบรรจุของเราเองกล่องเดียว ลำบากต่างกัน ตรวจต่างกันเช่นไหร่ค่ะ รบกวนตอบตามที่ท่านเข้าใจนะค่ะ หรื่อให้ข้อแนะนำบางอย่างด้วย ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ขอบพระคุณค่ะ

    ตอบลบ
  5. เรียนคุณ Tagank

    จากคำถาม 11 มิ.ย. 2559
    บริษัท ที่เป็นพวก Freight Forwarder ในเยอรมัน ก็มีหลายบริษัท ไม่จำเป็นต้องเลือกบริษัทที่พื้นฐานอยู่เยอรมันก็ได้ครับ
    เพราะหากของเราไม่มาก ก็ใช้วิธีส่งแบบ LCL คือ รวมของกับรายอื่นๆ จนเต็มตู้คอนเทนเนอร์
    บริษัทที่ส่งของ ก็เลือกที่ สามารถส่งถึงไทยตามรอบระยะเวลาที่เราสะดวก
    สมมุติว่า เราพร้อมส่ง วันพุธ
    Humburg Sud อาจจะเปิดรับของได้ภายใน วันจันทร์ สำหรับการเริ่มขนส่งทางเรือใน วันศุกร์
    NYK อาจจะเปิดรับของได้ภายใน วันพุธ สำหรับการเริ่มขนส่งทางเรือใน วันอาทิตย์
    คุณอาจจะเลือก NYK ก็ได้ เพื่อทันเรือออก วันอาทิตย์ หรือ
    หากเลือก Humburg Sud เรือก็จะไปออกในศุกร์ถัดไป มันก็จะตกรอบอาทิตย์ที่ส่งของ
    ** ทั้งนี้ ทั้งนั้น ควรดูค่าใช้จ่ายประกอบกันได้
    แต่แนะนำว่า เลือกที่เราสะดวก ไม่จำเป็นต้องเป็นสายเรือเยอรมันโดยตรงได้

    อีกคำถาม
    ขอให้สำแดงรายการในกล่องนั้นให้ถูกต้อง โอกาสติดปัญหาก็จะน้อย
    ซึ่งต้องดูความเหมาะสมประกอบ
    เช่น เราจะส่งรองเท้ากลับบ้าน (ซึ่งสามารถใส่กล่อง หรือวางบน Pallet) แต่ใส่ลังไม้ทึบ มันก็ผิดปกติ Customs อาจจะขอเปิดตรวจ
    จริงๆแล้ว ในลังไม้ ลังทึบ จะใส่อะไรก็ได้ แล้วเราก็แจ้งไปตามนั้น ทั้งหมด
    แต่หากมีหลากหลายเกินไป ก็จะสะดุดตา และ น่าสงสัย ก็เลยอาจจะทำให้ขั้นตอนมันติดขัด
    หวังว่าคงเข้าใจนะครับ หากเราเป็นนายตรวจ เจอลังไม้ใส่ของมากมายหลายอย่าง ก็จะหันไปตรวจหรือปล่อยผ่านของที่สำแดงง่ายๆก่อน

    ส่นเครื่องจักร บางรายจะแสดง Parts ย่อยๆ ในเครื่อง แต่บางรายก็ไม่แสดง
    อันนี้ ขึ้นอยู่กับจังหวะ และประเภทของการนำเครืื่องจักรนั้นๆมาใช้ เช่น มาใช้งาน 5 ปี ปลอดภาษีนำเข้าเป้นต้น

    อ่อ...ลังไม้ ต้องผ่านการอบยา และประทับตราด้วยนะครับ ไม่งั้น ปัญหาอาจจะยาว

    ตอบลบ
  6. คิดจะย้ายจากwashingtonstateกลับไทยช่งยแนะนำบริษัทได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
  7. คิดจะย้ายจากwashingtonstateกลับไทยช่วยแนะนำบริษัทได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่กล้าแนะนำครับ แต่ถ้าของปริมาณไม่มาก ฝากกับพวกรับนำเข้าจาก USA น่าจะสะดวกกว่า ลอง google ดู มีหลายราย ราคา ก็ราว 700-800 บาท/1 คิวเมตร
      ที่ไม่แนะนำ เพราะใช้บริการจาก น้อยมาก กลัวแนะนำแล้วไม่ประทับใจจริงๆน่ะครับ

      ลบ
    2. แก้ไขครับ 700-800 บาท/กิโลกรัม ครับ

      ลบ
  8. สวัสดีคับ
    รบกวนสอบถามคับ พอดีญาติไปอยู่ อิตาลี เมืองเลคเช่ 13 ปี และจะย้ายข้าวของกลับมาอยู่เมืองไทยอย่างถาวร
    อาทิ เช่น ถ้วยชาม เครื่องใช้ในเครัวเรือน ต่าง ๆ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งบ้าน เสื้อผ้า ฯลฯ ประมาณตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต แบบนี้ ต้องเสียค่าภาษีมั๊ยคับ? รบกวนขอคำแนะนำหน่อยคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. บางอย่าง อาจจะเสียภาษี พวกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
      ส่วนรายการที่สามารถมองออกได้ว่า เป็นของส่วนตัว ไม่เสียภาษีครับ
      แหม...แต่ก็ขึ้นอยู่กับ จนท. ที่ตรวจด้วย
      เจอคนที่คุยได้ง่าย เข้าใจคนไทยด้วยกัน ก็ดี แต่กลัวเจอพวกที่ต้องการน้ำมันหล่อลื่น ก็อาจจะต้องเลือกว่า เสียเงิน หรือเสียเวลา

      บางที เรื่องดุลพินิจ มันตอบยากจริงๆ
      แต่ถ้ามา 1 ตู้ เต็มๆ ของเราเอง แบบที่เรียกว่า FCL นี่ โดนภาษีแน่ๆ (มาก-น้อย ไม่แน่ใจ)
      แต่ถ้าสัก 2-3 Pallet ก็อาจจะต้องลุ้น
      เพราะมุมมองแบบนำเข้า 1 ตู้ นี่ อาจจะมองว่า เอาของเก่ามาขาย แบบร้านสินค้าญี่ปุ่นมือ 2 ที่เปิดกันมากมายในประเทศไทย

      ลบ