ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รัฐบาล บนบ่อทอง - ปฐมบท

อันหลู เป็นพนักงานลูกจ้างเอกชน ทำงานกินเงินเดือน
อันหลู เป็นคนขี้เบื่อ ขี้รำคาญ แต่ก็พยายามอยู่บนพื้นฐานของระเบียบองค์กร
พยายาม ในที่นี้ คือ มีบ้างที่ออกนอกกรอบ นอกระเบียบ
มีบ้าง (บ่อยๆ) ที่ไม่คิดว่า ลูกค้าคือพระเจ้า
มีบ้าง ที่กวนบาทา เจ้านายชาวต่างชาติ
มีบ้าง ที่ ฯลฯ

องค์กรของอันหลู เป็นองค์กรที่มีเครือข่ายโยงไปทั่วโลก
พูดภาษาบ้านๆ คือ มีสาขาและบริษัทในเครืออยู่ทั่วโลก น่านละ
ต้นกำเนิดขององค์กรที่ทำอยู่ คือ ญี่ปุ่น
ประเทศที่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดี น่าเรียนรู้ เป็นแบบอย่าง
ประเทศที่มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ไม่น่าจะเหมาะสมกับคนไทยเท่าไร


องค์กรนี้ เรียกกันว่า "บ่อทอง"
อ้าว...ทำไมเรียกว่า "บ่อทอง"

อย่างแรก คือ เลี่ยงการใช้ชื่อจริง (เหตุผล ง่ายๆๆๆๆ)

อย่างที่สอง คือ นี่คือสถานที่ที่มาเสวยสุขของคนต่างชาติที่มาบริหารงาน
เอาละ...เริ่มเสียวสันหลังละซี อันหลู เตรียมตัวหางานใหม่ได้ละมั้ง




ตัวของอันหลูเอง ก็ทำงานมานานหลายองค์กร รวมๆแล้ว ก็น่าจะ เกือบๆ 20 ปีแล้วละ
นับว่า อยู่ในวัยทำงาน (ยังไม่แก่ง่ายๆหรอก)
ประสบการณ์ ก็นับว่า พอสมควร(กับวัย)
ในองค์กร "บ่อทอง" เอง ก็มาทำได้ราวๆ 4 ปี ก็อาจจะได้ระยะเวลาที่เหมาะสม ที่จะไปทำมาหากินอย่างอื่นได้แล้วมั้ง
อันหลู คิดและบอกกับตัวเองแบบนั้นเสมอๆ ก็บอกแล้วว่า มันขี้เบื่อ ขี้รำคาญ

แล้วทำไม หัวเรื่องต้อง รัฐบาล บนบ่อทอง
"รัฐบาล" เป็นคำที่เสมือนตัวแทนของการบริหาร
ไม่ว่าจะองค์กรระดับชาติ ระดับประเทศ ระดับตำบล
หรือ แม้แต่ ระดับเล้าหมู เล้าไก่ ต้องมีการบริหารทั้งนั้น
แม่สั่งอันหลูไปกวาดเล้าหมู นั่นก็คือการบริหาร - หรือ ไม่จริง ?

"บ่อทอง"  ก็เป็นคำที่เสมือนตัวแทนองค์กร ที่อยู่ที่มุมของเราเอง
ที่จะมองว่า เราสร้างอะไรให้องค์กร เพื่อตอบแทนการจ้างงาน
หรือ เราจะมาเสวยสุข สูบอะไร จากที่องค์กรให้
อู้งานได้เมื่อไร จะมาพล่ามต่อ กับเรื่องของ อันหลู.......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น