ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

กลับบ้าน : ขนของใช้จากต่างประเทศกลับบ้านเรา

กลับบ้าน : ขนของใช้จากต่างประเทศกลับบ้านเรา

ด้วยความที่มีเพื่อน ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ หลายคน หลากหลายประเทศ
แล้วอยากกลับบ้าน หรือขนของใช้ส่วนตัวกลับ
ในที่นี้ขอเรียก ต่างประเทศต่างๆ ว่า "บ้านนอก" ละกัน
เพราะมันเป็นบ้านของเขาเหมือนกัน ที่อยู่ข้างนอก

ก็ต้องทำความเข้าใจอีกอย่าง ว่า แต่ละประเทศ พิธีการ และการคิดค่าใช้จ่ายอาจจะต่างกัน
ในเรื่องของ ภาษี และค่าใช้จ่ายต่างๆ

แล้วก็ต้องทำความเข้าใจอีกอย่าง ว่านี่เป็นการขนของ ไม่ใช่การยัดใส่กระเป๋าเดินทาง
ที่เอาของไปพร้อมกับตัวผู้เอาของใช้กลับ !!

เราจะเอาของใช้ จำนวนมาก กลับบ้านทางเรือกัน
เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย จากปริมาณของที่มากมายเหลือเกิน

รับ-ส่ง สินค้า ทางเรือ

เราจะไม่พูดถึงการขายของก่อนกลับจากบ้านนอกกัน
เพราะอันนี้ ใครๆ หรือ เจ้าของก็น่าจะทำกันเป็นปกติ
ที่จะต้องลงขายของ หรือ ยกให้ฟรีๆ สำหรับของที่เกินความจำเป็นในการกลับบ้าน

1. เริ่มต้นด้วยการ คัดแยกของก่อนเลย
อะไร ควรเก็บและแพ็คไปด้วยกัน รวมกันเป็นกลุ่มๆ (หรือ กอง) ไว้

** ขนาดของสิ่งของ สำคัญ - ขนาดนี่แหละ จะทำให้คุณต้องจ่ายมาก หรือน้อย
หลายคนบอกคิดตามปริมาตร แต่วิธีคิด คือ
FT หรือ
Freight Ton หรือ
1000 Kgs. in weight or 1 M3 in measurement which ever is greater in revenue. หรือ
น้ำหนัก 1 ตัน หรือ ปริมาตร 1 คิวบิกเมตร อยู่ที่ อย่างไหนมากกว่ากัน

 

ซึ่งโดยปกติ หรือโดยส่วนมากแล้ว ข้าวของเครื่องใช้ ไม่หนักมากขนาดเป็นตันๆหรอก จึงถูกคิดเป็น ปริมาตรแทน


** ความแข็งแรงของสิ่งของ สำคัญ - เพราะสิ่งของนั้นนั้น อาจถูกนำไปรวมกับสินค้าของคนอื่นๆ เพื่อรอการบรรจุ
แบบ Consolidate Container  คือสินค้าหลายรายรอรวมบรรจุในตู้ Container เดียวกันจนเต็มตู้
หรือถ้าของคุณมีเยอะมาก คุณอาจจะเหมาตู้ไป
แบบ [ FCL : Full Container Load ] คือการบรรจุสินค้าแบบเต็มตู้ Container โดยมีของคุณรายเดียว

การส่งกลับไปแบบ FCL ดีตรงที่คุณสามารถเอาของใช้ส่วนตัวกลับ โดยขั้นตอนอาจจะกระชับกว่า เพราะไม่ต้องรอตรวจของร่วมกับคนอื่นๆ และคุณสามารถสั่ง Agent ว่าอะไร วางก่อน-หลัง ล่าง-บน เพื่อเลี่ยงการเจอของชาวบ้านที่หนักกว่า วางบนของที่เปราะบาง ของคุณ

 

ตู้ 20' Container ปริมาตรอยู่ที่ 33 M3 โดยประมาณ
แต่ไม่ใช่ว่า คุณจะยัดได้เต็ม 33 M3 นะครับ เพราะ ลองนึกภาพของใช้ส่วนตัวของคุณ
มีหลากหลายขนาด มี Dead Space จากการวางแล้วเกิดช่องว่าง
คำนวนคร่าวๆ เวลาผมสอนคนของผม คือ 80% ก็ราวๆ 26 M3

 


** น้ำหนักสิ่งของ สำคัญรองลงมา - ที่บอกว่า รองลงมา ก็กรณีคุณส่งมาแบบ FCL น่านละ
แล้วก็อย่างที่เกริ่นไว้ ของส่วนตัวน้ำหนักคงไม่มาก

มีชาวต่างชาติ ที่เข้ามารับงานในเมืองไทยรายหนึ่ง
พี่แกขนของ จากบ้านนอกของแก ใส่ตู้ 20' Container มาเต็มๆ
ประหนึ่งว่า แกจะมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่
แม้กระัทั่ง ซ๊อสปรุงรส แกยังยัดใส่ตู้ Container มาด้วย
คนของผมเปิดตู้ออกมา เห็นของ ก็บ่นกันในใจว่า
"มันไม่คิดจะซื้ออะไรบ้านเราบ้างหรือ ไงฟระ?"
ก็แน่ละ ทำงานบริษัทสายเรือ อะไรยัดใส่ตู้มาได้ แกก็สั่งยัดมาให้เต็มที่
ยังไม่นับตุ๊กตายาง ที่ฝากกัปตันเรือมาอีกนะ......อันนี้ ผมอำลูกค้าเล่น...555

2. หา Agent ที่รับงานเอาของกลับบ้าน
อันนี้ แล้วแต่ประเทศต้นทาง ว่าแต่ละที่ มีเงื่อนไข พิธีการอย่างไร
เจ้าของสินค้า ต้องบอกกับ Agent เพื่อสำแดงในเอกสารให้ศุลกากร

 

ยกตัวอย่าง จาก USA มาประเทศไทย เรือเดินทางประมาณ 45 วัน
แล้วแต่สายเรือ บางสาย เดือนละครั้ง บางสาย มากกว่า
แล้วแต่ว่า Agent นั้นๆ จะใช้สายเรือไหน
ค่าใช้จ่ายตกราว 250 บาท / กก. โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับสิ่งของด้วย
[ อ้างอิงจาก us-hop.com ]

Shipping Goods 

3. เริ่มยัดของลงกล่องกันซะที - กรณีไป Consolidate Container อ่านดีๆ
ส่วนส่งของกลับไปทาง FCL ก็ไม่ต้องกังวลมาก

หลังจากเช็คกับ Agent กำหนดวันส่งของให้ Agent แล้ว
อันนี้ รายละเอียดก็ไปจัดการกันเอง จะส่งให้ Agent หรือให้ Agent จัดรถมารับ
ก็แล้วแต่ความสะดวก ความถนัด

ยกตัวอย่าง ของใช้ส่วนตัวเรา 15 กล่อง ไปแบบ Consolidate Container
เมื่อยัดของใส่กล่อง ถ้าแนะนำ อยากแนะนำให้หากล่องขนาดเดียวกัน
เพราะยิ่งหลายหลายขนาด อาจจะสร้างปัญหา เวลาเจอ Shipping Low Grade
และทำให้การคำนวน Freight Ton ทำได้ง่าย ชัดเจน
ไม่หงุดหงิดใจทีหลัง เวลาที่ถูกคิด Freight Ton มากกว่าของจริง

 

เราเตรียมของเราให้พร้อมก่อน จะดีกว่า ซึ่งหากเราใช้กล่องขนาดเดียว
เมื่อเคลียร์ของปลายทาง กับ Consolidate Container จะทำให้ Shipping ทำงานง่าย
เพราะเราแค่บอกว่า กล่องของเราขนาดนี้นะ มี 15 กล่องนะ

แถมให้เผื่อเจอ Shipping Low Grade หรือพวกเมาค้างมาทำงาน อาจจะ งงๆ เอ๋อๆบ้าง
แนะนำว่า หากระดาษ หรือ Sticker สีแจ่มๆ เขียนแล้้วติดมุมกล่อง
1 แผ่น ต่อ 1 กล่องก็พอ
เขียนจำนวนกล่องของเรา เช่น 1/15 , 2/15 , 3/15 ....เพื่อให้ Shipping ต้นทาง-ปลายทางสังเกตง่ายขึ้น
แล้วจะได้ไม่พลาด หรือ ล่าช้าเกินไป
หรือหากคุณเป็นคนละเอียดหน่อย อาจจะบันทึกใส่สมุด ว่า กล่องไหน ใส่อะไร จะได้ง่ายเวลากลับมาบ้านแล้ว เลือกว่า จะแกะกล่องไหนก่อน-หลัง




4. รอรับของที่บ้านเรา - หลังจากของเดินทางมาถึง Shipping ปลายทาง จะดำเนินการนำของออก
อาจจะท่าเรือ หรือ ตามบริษัทที่รับเปิดตู้ Container ก็แล้วแต่บุญ-กรรมที่ทำกับ Shipping
หรือบางราย อาจจะบริการส่งถึงบ้าน ก็อาจจะถูกบวกเพิ่มนิดหน่อย
แต่แนะนำว่า จ่ายเถอะครับ !!
การติดต่อรับของจาก Shipping หลังจากตู้มาถึง เปิดตู้นำของออกเสร็จ
ขั้นตอนพวกนี้ ใช้เวลา อาจจะทำให้คุณเองเสียเวลางาน เสียเวลาทำธุรกิจของคุณเอง
ผมมองว่า เวลาของคุณ มีค่ากว่าการมาเพื่อ........
- รอการเปิดตู้ Container นำสินค้าออก
- รอเวลาที่คนงานจะว่างเปิดตู้ Container ของคุณ
- รอการคัดแยกของ
- รอ Load ของขึ้นรถของคุณ
- ฯลฯ หากเจอปัญหาอื่นๆ

ด้านล่างนี้ เอามาฝากจาก กรมศุลกากร

การนำเข้าของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว

ชาวไทยที่อยู่ต่างประเทศเกินกว่า 1ปี ที่ไม่ได้อยู่เพื่อการท่องเที่ยว มีสิทธิ์นำเข้าของใช้ในบ้านเรือนโดยปราศจากภาระภาษีอากร นอกจากนี้ชาวต่างประเทศที่ย้ายภูมิลำเนามายังประเทศไทยอาจนำเข้าของใช้ใน บ้านเรือนโดยปราศจากภาระภาษีอากรเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะดังจะแสดงด้านล่างนี้
คำว่า “ของใช้ในบ้านเรือน” รวมถึงสินค้าทุกชนิดที่จำเป็นจะมีไว้ในบ้านเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์ พรม หนังสือ เครื่องดนตรี ภาพวาด เครื่องครัว วิทยุ ผ้าลินิน และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น ผู้นำเข้าต้องเป็นเจ้าของ ครอบครอง และใช้ของใช้เหล่านี้ก่อนกลับประเทศไทยเพื่อได้รับสิทธิในการนำเข้าโดย ปราศจากภาระภาษีอากร ความเป็นเจ้าของ การครอบครอง และการใช้งานเป็น 3 เงื่อนไขสำคัญในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น หากของเหล่านี้มีการโอน และครอบครอง โดยไม่ได้ใช้งาน ผู้นำเข้าต้องชำระค่าภาษีอากร
ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำติดตัวมาด้วยขณะเดินทางเข้าหรือออกจากประเทศ ไทยรวมทั้งสินค้าอื่นๆที่ใช้หรือจะใช้เพื่อการค้าไม่ถือว่าเป็นของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วและไม่สามารถนำเข้าโดยปราศจากภาระภาษีอากรได้



วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

Cat Stevens - Father and Son Original


Father & Son – Cat Stevens



เพื่อน รุ่งเรือง ปานเจริญ ส่ง Link เพลงนี้ใน Version ของ Rod Steward
ฟังแล้วถูกใจ เหมือนการได้ฟังการสนทนากัน
ก็เลย ไล่หาข้อมูล ที่มา ที่ไป ของเพลงนี้
ได้ความว่า เป็นของ Cat Stevens

ด้านล่างเป็นการคัดลอกมาจาก ผู้เขียนที่ใช้ชื่อว่า 
น้ำบุญ:สามตำบล
สมาชิก ชุมชนคนรักหนังสือ 
 
บทเพลงนี้แต่งขึ้นโดย Cat Stevens ในปี 1970 

บทเพลงกล่าวถึงความคิดที่แตกต่างกันระหว่างพ่อและลูกชาย
โดยลูกชายต้องการแสดงออกถึงการใช้วิถีชีวิตที่ต่างไปจากรูปแบบชีวิตเดิมๆที่เป็นอยู่
และพ่อพยายามอธิบายถึงวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ว่าดีอย่างไรและมีความสุขได้อย่างไร 
 
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเหมือนต่างฝ่ายถือว่าตนถูกต้อง
ดังนั้นท้ายสุดลูกชายจึงหาทางออกว่า
เขาต้องไปเพื่อมีชีวิตที่เขาต้องการ หรือ
I know I have to go away ......
 
ในขณะที่พ่อร้องขอให้ลูกชายจงอยู่ และทำไมต้องไป
และตัดสินใจทุกสิ่งอย่างลำพังเพียงคนเดียว 
 stay, why must you go and make this decision alone? 
 
บทเพลงนี้นอกจากจะสะท้อนถึงความคิดที่ขัดแย้งกันในสังคมแล้ว
ยังสามารถอธิบายถึงความขัดแย้งทางความคิดที่เป็นจริงเสมอสำหรับ
คนรุ่นก่อนและคนรุ่นใหม่
ซึ่งต่างก็มีมุมมองและความคิดในการมองชีวิตที่แตกต่างกัน
 
จากทั้งประสบการณ์ในการใช้ชีวิต
รวมถึงกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงและมุมมองของคนรุ่นใหม่
ที่มุ่งถึงความสุขทางใจและเสรีภาพในการใช้ชีวิตที่อิสระเสรี มากกว่าคนรุ่นก่อน
ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรุ่นต่อรุ่น
เรียกได้ว่าบทเพลงนี้สะท้อนสังคมในเรื่องของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเสมอในปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี
แต่อย่างไรก็ดีในความขัดแย้งนี้
ท่วงทำนองของเพลงกลับขับกล่อมออกมาอย่างช้าๆ และค่อยเป็นค่อยไป
สะท้อนให้เห็นถึงความรักความห่วงใยที่พ่อมีให้กับลูกชายเสมอ
รวมถึงเสียงร้องของ Cat Steven ในช่วงบทของพ่อที่แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน .... 
 
Cat Steven ใช้เทคนิคการร้องเพลงโดยการแบ่งเป็น 2 ภาค
โดยภาคที่เป็นบทร้องของพ่อเขาจะใช้เสียงที่ค่อนข้างต่ำ ทุ้ม
ส่วนในส่วนของบทร้องที่เป็นท่อนของลูกชายจะใช้โทนเสียงที่สูง
เพื่อแสดงถึงความแตกต่างในการแสดงอารมณ์และความคิด
โดยมี Alun Davies คอยร้องประสานเสียงในท่อน
"No", "Go and make this decision"
 
โดยร้องประสานอย่างแผ่วเบา นุ่มนวล และเพิ่มเสียงให้แน่นขึ้นในช่วงจบของเพลง
เมื่อฟังเพลงนี้จบแล้ว หวังว่าคุณผู้ฟังทุกท่านนอกจากจะได้ฟังเพลงที่ไพเราะแล้วจะได้แง่คิด
ในการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับทุกสิ่งรอบตัวเรา
โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว
อย่าให้ต่างคนต่างไปตามทางของตน
แต่จงให้ทำให้สิ่งที่ตนต้องการอย่างใจเถิด
โดยมีกำลังใจและความรักของคนในครอบครัวเคียงข้างเสมอ.....   


ต่อไปผมก็จะแปล ตามแบบฉบับ และสำนวนของผมเอง ที่อยากจะแปล





[Father] 
It's not time to make a change, 
Just relax, take it easy. 
You're still young, that's your fault, 
There's so much you have to know. 
Find a girl, settle down, 
If you want you can marry. 
Look at me, I am old, but I'm happy. 
 
มันยังไม่ใช่ช่วงเวลานี้หรอกที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร
นั่งพัก สงบใจก่อนนะลูก
ลูกยังต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดอีกมาก
โลกกว้างยังรอให้ลูกค้นหา
เจ้าจะุได้พบคู่ชีวิต และอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง
มองดูที่พ่อซี พ่อแก่ตัวลงไปทุกวัน 
แต่ก็ยังมีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่ายได้ 
 
I was once like you are now, and I know that it's not easy, 
To be calm when you've found something going on. 
But take your time, think a lot, 
Why, think of everything you've got. 
For you will still be here tomorrow, but your dreams may not. 
 
ครั้งหนึ่งพ่อก็เคยเป็นเช่นที่ลูกเป็นอยู่
และพ่อก็รู้ว่าชีวิตมันไม่ได้ง่ายดายไปทุกอย่าง
ใจเย็นๆ แล้วลูกจะได้พบสิ่งที่ดีในอนาคต
ให้เวลากับตัวเอง ไตร่ตรองให้รอบคอบ
ทำไมไม่ลองมองดูทุกสิ่งรอบๆตัวลูกล่ะ
ลูกยังคงต้องอยู่เพื่อทุกอย่างรอบๆตัว
แม้ทุกอย่างจะไม่เป็นดังฝันก็ตาม 
 
 [Son] 
How can I try to explain, when I do he turns away again. 
It's always been the same, same old story. 
From the moment I could talk I was ordered to listen. 
Now there's a way and I know that I have to go away. 
I know I have to go. 
 
ผมจะอธิบายพ่ออย่างไรดี หากชีวิตมันมีจุดพลิกผัน
มันดูคล้ายว่าจะเป็นเรื่องราวแบบเดิมๆ
ที่ลูกได้มีโอกาสพูด และรับฟังเรื่องราว ได้เรียนรู้โลก
ถึงตอนนี้ ลูกก็มีเส้นทางของลูกที่จะต้องเดินก้าวต่อไป 
ลูกรู้ดีครับพ่อ ว่าวันนึงลูกต้องก้าวต่อไป 
 
 [Father] 
It's not time to make a change, 
Just sit down, take it slowly. 
You're still young, that's your fault, 
There's so much you have to go through. 
Find a girl, settle down, 
If you want you can marry. 
Look at me, I am old, but I'm happy. 
 
นั่งลงพัก ค่อยๆไตร่ตรอง 
มันยังไม่ใช่ช่วงเวลานี้หรอกที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร นะลูก 
ลูกยังต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดอีกมาก 
โลกกว้างยังรอให้ลูกได้ฟันฝ่า 
เจ้าจะุได้พบคู่ชีวิต และอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง 
มองดูที่พ่อซี พ่อแก่ตัวลงไปทุกวัน 
แต่ก็ยังมีความสุขกับชีวิตที่เรียบง่ายได้ 
 
 [Son] 
All the times that I cried, keeping all the things I knew inside, 
It's hard, but it's harder to ignore it. 
If they were right, I'd agree, but it's them you know not me. 
Now there's a way and I know that I have to go away. 
I know I have to go. 
 
ทุกคราที่ลูกร้องไห้ ก็เพราะลูกเก็บกดเรื่องราวไว้ภายใน
มันช่างยากเย็นเหลือเกินที่จะก้าวผ่านมันไป
หากเรื่องราวมันถูกต้อง ลูกจะยอมรับ แต่ถ้าไม่ใช่ลูกก็ยอมรับมันไม่ได้เช่นกัน
ถึงตอนนี้ ลูกก็มีเส้นทางของลูกที่จะต้องเดินก้าวต่อไป
ลูกรู้ดีครับพ่อ ว่าวันนึงลูกต้องก้าวต่อไป

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

การระบายความร้อนเครื่องยนต์

เริ่มจากการที่ Terrano II ของผม ขึ้นเขาที่ขุนสถาน จ.น่าน
แล้วความร้อนขึ้น จนทำให้ฝาบนหม้อน้ำปริออก จนน้ำฉีดออกเป็นฝอย
ถือว่าเป็นโชคดี ที่แ่ค่ปริออกนิดหน่อย ทำให้ยังสามารถขับได้
เพียงแต่คอยดูน้ำอยู่บ่อยๆ เพื่อความอุ่นใจ

จากเหตุนี้ ก็เลย หาความรู้เพิ่มเติม เรื่องการระบายความร้อนรถยนต์
ก็ไปเจอข้อมูลที่ http://www.aisleberley.com ที่อ่านแล้วทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
เนื้อหา ก็ขอ Copy มาวางเลยละกัน



ปั๊มน้ำ

หน้าที่การทำงาน
ทำให้น้ำหมุนเวียนจากเครื่องไปยังหม้อน้ำแล้วไหลกลับเข้า เครื่องการทำงานของ ปั๊มน้ำจะอาศัยสายพานจาก เครื่องยนต์มาหมุนและจะมีลูกปืน มารองรับในการหมุน

ปัญหา
สาเหตุที่ทำให้ปั๊มน้ำไม่ทำงาน สาเหตุแรกก็คือสายพานขาด เมื่อสายพานขาดปั๊มน้ำก็ไม่สามารถหมุน เมื่อปั๊มน้ำไม่หมุนก็ไม่มีการไหลเวียนของน้ำเพื่อเอาความร้อนออกจากเครื่องยนต์
สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือการสึกหรอ หรือแตกของลูกปืนจะทำให้ปั๊มน้ำปิดตายไม่ยอมหมุน
หรือหมุนแบบแกว่งตัว ทำให้ส่วนอื่นของเครื่องยนต์เสียหายตามไปด้วย
ส่วนปัญหาที่เจอกันบ่อยของปั๊มน้ำก็คือปั๊มน้ำรั่ว การตรวจสอบทำโดยการติดเครื่องและเร่งเครื่องยนต์จะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าจะมีน้ำไหลออกมา
แต่ถ้าจอดรถไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการติดเครื่องยนต์ หรือติดเครื่องในรอบเดินเบา น้ำจะไม่รั่วซึมให้เห็น
การรั่วของปั๊มน้ำส่วนมาก มักจะเกิดในบริเวณซิลแกนหมุน น้ำจะไหลออกมาทางด้านหน้าและออกจากรูระบายอากาศ

วิธีดูแลรักษา
1. ต้องคอยตรวจสอบสายพานให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ อย่าให้ขาด สายพานควรจะเปลี่ยนใหม่เมื่อมีการใช้งานรถเป็นระยะทาง 40,000 ก.ม
2. เมื่อลูกปืนปั๊มน้ำมีเสียงดังแสดงว่าลูกปืนสึกหรอควรรีบเปลี่ยนทันที
3. การตรวจสอบแบริ่งของปั้มน้ำ ทำโดยจับใบพัดทั้งส่วนบนและล่างและโยกไปมาข้างหน้าและข้างหลัง ถ้าใบพัดขยับได้แสดงว่าแบริ่งปั้มน้ำสึกหล่อ ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าปั๊มน้ำไม่มีใบพัด ให้จับบนพูลเลย์ ในบางครั้งซีลปั๊มน้ำรั่วจะมีน้ำไหลออกมา หรือแบริ่งมีเสียงก็ควรเปลี่ยนปั๊มน้ำใหม่

วาล์วน้ำ (เทอร์โมสตัท)

หน้าที่การทำงาน
ทำหน้าที่ปิดกั้นทางเดินน้ำไม่ให้ไหลเข้าเครื่องเมื่อเครื่องยนต์เย็น เพื่อที่จะทำให้เครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิการทำงานเร็วขึ้น
 ปัญหา
วาล์วน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ก็ยังมีโอกาสเสีย เช่น วาล์วน้ำไม่เปิดเมื่อร้อนเนื่องจากเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เครื่องร้อนจัด(โอเวอร์ ฮีท)
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทำได้โดยการถอดวาล์วน้ำออกชั่วคราว ก่อนถอดวาล์วน้ำออก ให้ถ่ายน้ำหล่อเย็นออกบางส่วน ถอดท่อน้ำออกจากโลหะ ถอดแป้นเกลียวที่ยึดฝาครอบวาล์วน้ำ
 ควรคลายแป้นเกลียวออกทีละน้อย ๆ เพื่อไม่ให้ฝาครอบบิดตัว ถ้าฝาครอบติดแน่นบนเสื้อหุ้ม ให้ใช้แท่งไม้ตอกเบา ๆ เพื่อให้ฝาครอบหลุดออกมา หลังจากนั้นยกวาล์วน้ำออกและควรใช้เศษผ้าอุดช่องเปิดไว้ก่อน ขูดปะเก็นเก่าออกให้หมดแล้วทำความสะอาดผิวหน้าประกบและเปลี่ยนประเก็นใหม่
สังเกตว่าวาล์วน้ำเสียหรือไม่ดูจากจากการเปิดฝาหม้อน้ำแล้วติดเครื่องยนต์จนร้อนแล้วเร่งเครื่อง ถ้าเกจ์วัดความร้อนขึ้นสูงแต่ไม่มีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็วโดยดูจากช่องฝาปิดหม้อน้ำที่เปิดไว้ แสดงว่าวาล์วน้ำมีปัญหา หรืออีกกรณีหนึ่งการที่วาล์วเปิดตลอดเวลาทำให้เครื่องยนต์ร้อนช้า ถ้าเปิดฝาหม้อน้ำแล้วเร่งเครื่องถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะเย็นก็ตามแต่จะมีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็ว

วิธีดูแลรักษา
การตรวจสอบวาล์วน้ำทำโดย เริ่มต้นจากการสตาร์ตเครื่องยนต์ในขณะที่เครื่องเย็น ใช้มือสัมผัสที่หม้อน้ำหรือท่อน้ำอันบน ซึ่งในช่วงแรกยังคงเย็นอยู่แต่ถ้าผ่านไปสัก 2 - 3 นาที จะร้อนขึ้นอย่างเร็ว แสดงว่าวาล์วน้ำทำงานผิดปกติ แต่ถ้าค่อย ๆ ร้อนขึ้นทีละหน่อย แสดงว่าวาล์วน้ำเปิดค้างตลอดเวลา
แต่ถ้าร้อนขึ้นช้ามากและเครื่องเริ่มร้อนจัด แสดงว่าวาล์วน้ำปิดตาย
ถ้าต้องการทราบว่าวาล์วน้ำทำงานได้หรือไม่ ทำโดยถอดวาล์วน้ำแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อน เมื่อน้ำมีอุณหภูมิขึ้นจนมีค่าใกล้เคียงกับอุณหภูมิทำงานที่แสดงไว้บนวาล์ว วาล์วน้ำจะเปิดออก และเมื่อยกวาล์วน้ำขึ้นจากน้ำร้อนแล้วบ่อยให้เย็น วาล์วน้ำก็จะปิด

หม้อน้ำ

หน้าที่การทำงาน
ระบายความร้อนของน้ำที่เดินทางมาจากเครื่องยนต์ โดยที่หม้อน้ำจะมีท่อทางเดินน้ำ แล้วปิดด้วยครีบรังผึ้งเพื่อระบายความร้อนมาที่ครีบ เมื่อลมพัดผ่านท่อทางเดินน้ำก็เกิดการถ่ายเทความร้อนไปกับลม ทำให้น้ำเย็นตัวลง
ปัญหา
การรั่วของหม้อน้ำ ถ้ารั่วตามตะเข็บตัวล่างจะทำให้สังเกตได้ยากเพราะเพราะส่วนของหม้อน้ำจะบังเอาไว ้แต่ถ้ามีการรั่วซึมในบริเวณอื่นจะสังเกตได้ง่าย
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของหม้อน้ำก็คือการอุดตัน ถ้ามีการอุดตันของหม้อน้ำ ต้องมีการถอดหม้อน้ำออกมาทำความสะอาดโดยการทะลวงเอาสิ่งสกปรกออกมา แต่ถ้าเป็นหม้อน้ำรุ่นใหม่ที่เป็นอลูมิเนียมและใช้ฝาครอบพลาสติกใหญ่จะถอดออกมาไม่ได้
การใช้น้ำยาล้างหม้อน้ำแก้การอุดตันของหม้อน้ำส่วนใหญ่จะได้ผลไม่ดีนัก ดังนั้นผู้ขับขี่ควรจะมีการป้องกันการอุดตันของหม้อน้ำ โดยการใช้น้ำยาหม้อน้ำของทางบริษัทรถ และมีการเปลี่ยนน้ำปีละครั้งหรือสองครั้งตามคำแนะนำของคู่มือรถ

ฝาปิดหม้อน้ำ

หน้าที่การทำงาน
ฝาหม้อน้ำสามารถเก็บแรงดันในหม้อ ทำให้จุดเดือดของน้ำเพิ่มสูงขึ้น เป็น 120 องศาเซลเซียส จากเดิม 100 องศาเซลเซียสปัญหา
ความดันของหม้อน้ำจะถูกควบคุมด้วยฝาหม้อน้ำ ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบการทำงานของวาล์ว แหวนซีลต้องขยับตัวได้อิสระต้านกับแรงสปริง และแหวนยางต้องมีสภาพที่ดี แผ่นยางและสปริง เมื่อใช้งานไปนาน ๆ แผ่นยางจะเสื่อมไม่สามารถเก็บแรงดันได หรือสปริงเสื่อมแรงต้านลดลงไม่สามารถเก็บแรงดันได้สูง เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงจะไหลกลับไปยังถังพักน้ำ แต่จะไม่ไหลกลับเข้าหม้อน้ำเมื่อเมื่อเครื่องเย็น ทำให้น้ำในหม้อน้ำลดลง ขาดประสิทธิภาพในการระบายความร้อนทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงกว่าปกติ
วิธีดูแลรักษา
ต้องทำการตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำเป็นประจำ ปกติระดับน้ำในหม้อน้ำจะเต็มเสมอ หากผู้ขับขี่ตรวจพบว่ามีการพร่องของน้ำในหม้อน้ำ แสดงว่ามีการรั่วของหม้อน้ำ หรือระบบระบายความร้อนมีปัญหา บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำในถังพักน้ำแห้งเนื่องจากฝาหม้อเสื่อมสภาพ การเปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่ จะต้องมีขนาดเขี้ยวล๊อคฝา และแรงดันเท่าเดิม ต้องสังเกตด้วยว่าเป็นหน่วยอะไร


ถังพักน้ำ

หน้าที่การทำงาน
เมื่อน้ำในหม้อร้อนและขยายตัว มันจะดันผ่านวาล์วฝาปิดหม้อน้ำไหลมาถังพักน้ำ เมื่อเครื่องยนต์เย็นน้ำและแรงดันในหม้อลดลง มันจะดูดน้ำจากถังพักน้ำไหลเข้าหม้อน้ำ

ปัญหา
ถ้าผู้ขับขี่พบว่าเวลาเครื่องเย็น น้ำในถังพักน้ำมีปริมาณมากผิดปกติ โดยที่ไม่ได้เติมน้ำเกินขีดสูงสุด แสดงว่าปะเก็นฝาสูบอาจจะแตก ผู้ขับขี่สามารถตรวจเช็คด้วยการเปิดฝาหม้อน้ำเอาไว้ ติดเครื่องจนเครื่องร้อนแล้วเร่งเครื่อง สังเกตน้ำในหม้อน้ำถ้ามีฟองอากาศวิ่งผ่านแสดงว่าฝาปะเก็นสูบแตก ในทางกลับกันพบว่าน้ำในถังลดระดับเร็วจนต้องเติมน้ำบ่อย ๆ แสดงว่าฝาหม้อน้ำมีปัญหา หรือมีการรั่วในระบบระบายความร้อน

พัดลมระบายความร้อน

หน้าที่การทำงาน
มีหน้าที่ดูดลมให้ผ่านรังผึ้งหม้อน้ำ เพื่อระบายความร้อนน้ำหล่อเย็น พัดลมจะมีปะโยชน์เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วต่ำหรือการจอดรถเป็นเวลานาน ๆ เช่น รถติด แต่ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็วระดับ 60 กม./ชม.ขึ้นไป จะมีกระแสลมที่มาปะทะรังผึ้งหม้อน้ำ เครื่องยนต์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลม ในเวลารถติดถ้าพัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ จะทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูง
ปัญหา
สาเหตุที่พัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ เนื่องมาจาก ใบพัดเสื่อมสภาพไม่กินลม ชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม ทำให้ใบพัดหมุนช้าในรอบต่ำ

วิธีดูแลรักษา
เมื่อชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม วิธีแก้ไขต้องอัดน้ำยาประเภทพาราฟินเพิ่ม หรือเปลี่ยนชุดฟรีคลัทช์ใหม่ ส่วนรถที่ใช้พัดลมไฟฟ้า จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบควบคุมทำให้ใบพัดไม่หมุน หรือหมุนแต่ไม่เร็วพอเนื่องจากการเสื่อมสภาพของมอเตอร์ใบพัด หรือถ่านสึก ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่

สายพาน
หน้าที่การทำงาน
ทำหน้าที่ขับเคลื่อนปั๊มน้ำ พัดลมและอัลเทอร์เนเตอร์

ปัญหา
ถ้าสายพานตึงเกินไปอาจทำให้แบริ่งของปั๊มน้ำและอัลเทอร์เนเตอร์เสียได้ แต่ถ้าสายพานหย่อนเกินไปจะเกิดการลื่นไถล ทำให้พัดลม ปั๊มน้ำ และอัลเทอร์เนเตอร์ทำงานไม่เต็มที่และจะทำให้สายพานเสียหายในที่สุด

เมื่อพบความผิดปกติของสายพานควรเปลี่ยนใหม่ก่อนที่จะขาด สภาพสายพานที่ควรเปลี่ยนใหม่ คือ

1. สายพานหักเป็นช่วง ๆ ตรวจสอบโดยการดัดสายพานให้โค้งงอ จะเห็นร่องรอยการแตกหักเป็นช่วง ๆ
2. สายพานถูกน้ำหล่อลื่นหรือจารบีจับเป็นเวลานาน จนมีสภาพอ่อนนุ่มและยุ่ย
ยางสายพานแยกตัวออกจากเส้นใย
3. สายพานมีลักษณะเป็นเงามันเนื่องมาจากการลื่นไถล ถ้าลื่นไถลมากจะเงามาก
ถ้าสายพานเพิ่งเริ่มเป็นเงาเพียงเล็กน้อยควรปรับให้ตึงขึ้นเล็กน้อย จะช่วยให้ดีขึ้น
4. สายพานมีรอยขาด เส้นใยเริ่มสึกและขาดในที่สุด
5. สายพานแยกตัวเป็นชั้น ๆ และเส้นใยแตกเป็นฝอย ปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้สายพานขาด

การปรับความตึงของสายพานต้องคลายสลักเกียวที่อัลเทอร์เนเตอร์ ที่ยึดติดกับเครื่องยนต์ด้วยแป้นยึดและสลักเกลียวที่ก้านปรับ ซึ่งจะมีร่องสำหรับการปรับระยะ ถ้าต้องการปรับสายพานให้ตึง
ใช้ไม้สอดเข้าไประหว่าง อัลเทอร์เนเตอร์กับเสื้อสูบ แล้วงัดเบา ๆ เมื่อสายพานตึงตามที่ต้องการแล้ว
ก็ให้ขันสลักเกียวของก้านปรับให้แน่น หลังจากนั้นก็ตรวจสอบความตึงของสายพานอีกครั้ง
แต่ถ้าสายพานตึงเกินไป ให้ดันอัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่อง
การเปลี่ยนสายพานต้องคลายสลักเกียวออกทุกตัวก่อนและดันให้อัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่องยนต์แล้วดึงสายพานออกจากพูลเลย์อันบนสุด และถอดสายพานออกจากพูลเลย์ของเพลาข้อเหวี่ยงและปั๊มน้ำ

แต่ถ้าเครื่องยนต์ติดตั้งแบบตามขวาง ต้องถอดสายพานให้ผ่านใบพัดของพัดลม

สำหรับเครื่องยนต์บางรุ่นต้องถอดกำบังลมออกก่อน การเลือกสายพานใหม่ควรเลือกชนิดที่ผู้ผลิตกำหนด และต้องตรวจสอบเบอร์ของสายพาน ให้เท่ากับสายพานเก่า ก่อนใส่สายพานควรทำความสะอาดร่องพูลเลย์ก่อน แล้วคล้องสายพานเข้าไปในร่องพูลเลย์ถ้าไม่สามารถใส่สายพานเข้าร่องพูลเลย์ ได้ง่ายก็ให้หมุนพูลเลย์ โดยหมุนที่ใบพัดของพัดลมหรือใช้ประแจช่วยในการหมุนหลังจากนั้นตรวจดูว่าสายพานเข้าไปในร่องสายพานได้อย่างเหมาะสมและไม่บิดตัว แล้วปรับความตึงของสายพาน
ควรตรวจสอบความตึงของสายพานหลังจากที่ใช้งานไปแล้ว 300 กิโลเมตร เมื่อสายพานพัดลมมีเสียงดังเอี๊ยด ๆ อย่าใช้น้ำมันหล่อลื่นทาเด็ดขาดเพราะถ้าทาน้ำมันเสียงจะหายไปชั่วคราว แต่สายพานจะบวมหรือเหนียวจนใช้งานไม่ได้

ท่อยางตัวล่าง

หน้าที่การทำงาน
เป็นตัวนำน้ำจากหม้อน้ำที่เย็นลงบ้างแล้วกลับเข้าเครื่องยนต์
ปัญหา
จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย
วิธีดูแลรักษา
ต้องตรวจเช็คสภาพและคอยเปลี่ยนเหมือนกับท่อยางตัวบน โดยเปลี่ยนท่อยางตัวบน 2 ครั้ง ต่อการเปลี่ยนท่อยางตัวล่าง 1 ครั้ง
การถ่ายน้ำหล่อเย็นควรทำทุก ๆ 2 - 3 ปี ควรทำในขณะที่เครื่องเย็น โดยการคลายปลั๊กถ่ายน้ำของหม้อน้ำออก ควรเปิดฝาหม้อน้ำด้วยเพื่อการไหลของน้ำเร็วขึ้น จากนั้นใส่ปลั๊กถ่ายน้ำเข้าที่เดิมแล้วเติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เครื่องทำงานเพื่อที่จะไลฟอง่อากาศออกจากระบบ และอย่าลืมเติมน้ำในถังสำรองด้วย
เมื่อรถมีการใช้งานไปนาน ๆ น้ำหล่อเย็นจะหายไปบางส่วน การเติมน้ำหล่อเย็นไม่ควรทำในขณะที่เครื่องร้อนเพราะน้ำร้อนและไอน้ำภายใต้ ความดันจะพุ่งออกมา แต่ถ้าจำเป็นจริงก็ควรใช้ผ้าปิดบนฝาหม้อน้ำ และค่อย ๆ คลายออกทีละน้อยเพื่อให้ความดันออกมาทีละน้อย
ถ้าน้ำในถังสำรองลดลงมากก็เติมในถังน้ำสำรองได้ทันทีควรมีการเติมน้ำยาผสมลงไปในน้ำ หล่อเย็นด้วยเพื่อป้องกันการเกิดตะกรันและเพิ่มจุดเดือดของน้ำให้สูงขึ้น ปริมาณน้ำยาที่เติมลงไปในน้ำควรมีปริมาณที่เหมาะสมตามที่กำหนด

ท่อยางตัวบน

หน้าที่การทำงาน
เป็นทางไหลของน้ำที่ได้รับความร้อนจากเครื่องยนต์แล้วไหลมายังหม้อน้ำเพื่อที่จะระบายความร้อน อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง
ปัญหา
จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย

วิธีดูแลรักษา
อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง ผู้ขับขี่ต้องมีการตรวจสภาพของท่อน้ำสภาพของท่อน้ำที่ควรจะเปลี่ยนใหม่
1. ท่อน้ำที่มีสภาพบวมโปร่ง ควรมีการเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะท่อน้ำอาจจะระเบิดได้ทุกเวลาเมื่อร้อนจัด หรืออยู่ภายใต้ความดันสูง การที่ท่อน้ำบวมมีสาเหตุจากบริเวณที่บวมมีคราบน้ำมันหล่อลื่นเปียกชื้นอยู่เสมอ
2. ท่อน้ำที่มีรอยแตกร้าวเป็นเส้นหรือแตกเป็นลาย ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ แล้วเส้นใยภายในท่อน้ำจะเริ่มขาดและท่อน้ำจะฉีกขาดในที่สุด
3. ปลายท่อน้ำชำรุดมีสาเหตุมาจากสายรัดท่อแน่นเกินไป กดยางจนเปื่อย หรือสายรัดหลวมเกินไป ทำให้มีน้ำรั่วออกมาในขณะที่เครื่องร้อน ปลายท่อจะบานและมีตะกอนจับ ดังนั้นควรใช้สายรัดท่อที่มีความกระชับพอดีกับขนาดท่อ
4. มีตะกอน ตะกรัน และสิ่งสกปรกอยู่ภายในท่อน้ำ ทำให้ท่อน้ำเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
5. ถ้าบีบท่อน้ำแล้วท่อน้ำนิ่มเกินไปหรือตีบแน่น หรือท่อน้ำแข็งจนบีบไม่ลง ควรเปลี่ยนใหม่