ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Securing Flat Rack Container

แรกเริ่มเลย ตั้งใจว่าจะเอา ส่วนหนึ่งของบทเรียนที่สอนลูกน้องในทีมงานมาลงเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้ศึกษา ซึ่งมันเป็นภาษาอังกฤษล้วน
แต่คิดไป คิดมา ทำมัน 2 ภาษาร่วมกันไปเลย น่าจะดีกว่า

เพราะเรื่องพวกนี้ มันไม่มีสอนในตำรา หรือ สถาบันไหน ต้องค้นคว้าข้อมูล ทดสอบ รวมทั้งประสานงานกับสายเรือ ที่จะต้องรับตู้ Container พวกนี้ลงเรือ

จริงๆ แล้ว ก่อนที่จะมาเป็นขั้นตอนนี้ มันมีขั้นตอนในส่วนของการทำ Lashing Plan เพื่อส่งให้ Agent ของสายเรือตรวจ และ Approve ก่อน ว่า Plan นั้น มั่นคง แข็งแรง ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม หรือไม่ ?

ว่างๆ จะลงงานแนวๆ นี้ มาให้เป็นข้อมูล สำหรับคนที่เลือกจะทำงานที่เกี่ยวกับสินค้าหนักๆ
จะว่าไป มันก็ "มันส์ดี"


Flat Rack Container :

When receive and check Flat Rack Container, Must check Max Gross Weight ( at floor of Flat Rack )

เมื่อได้รับตู้ Flat Rack Container มา สิ่งที่จะต้องดูคือ Capacity ของตู้ Flat Rack นั้นๆ ว่ารองรับสินค้าที่เราจะวางบนตู้นั้นๆได้ไหม เพราะตู้ Flat Rack แต่ละตู้ แต่ละ Agent มี  Capacity ต่างกัน

อีกเหตุผลหนึ่ง คือ คนจองตู้ อาจจะไม่รู้ว่าต้องดู หรือ สั่งตู้ที่มี Capacity เท่าไร  





ถ้าตู้ Flat Rack รับน้ำหนักสินค้าที่จะบรรจุไม่ได้ "อย่าฝืน" ไม่คุ้มค่าความเสียหายแน่ๆ เพราะ Machine หรือ Mold บางอย่าง ราคาหลายร้อยล้าน
 
 
Picture : Show Max Gross Weight , Tare Weight and Net Weight to load for this Flat Rack. 

ตู้ Flat Rack บางแบบ จะมี ช่องสำหรับใส่เสา เพื่อกันสินค้าเคลื่อน แต่ปกติ ก็ไม่ค่อยใช้กัน เพราะว่า สินค้าที่จะใส่ Flat Rack นั้น ขนาดก็จะกว้างเกินขอบตู้อยู่แล้ว 

Another Flat Rack different point and weight.





Picture : Show the hoop cannot lashing at this point.

Check around container, Where lashing point ?


ก่อนที่จะวางสินค้า จะต้อง Plan ดูว่า จุดที่จะ Securing สินค้ากับตู้ อยู่จุดไหน วางให้เหมาะสมกับจุดยึด และ Balance ของตู้
จุดใดควรยึด จุดใดไม่ควร ต้องดู เพราะ Capacity ต่างกัน



เรื่อง Balance เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสินค้าน้ำหนักมาก ถ้าวางไม่ได้ Balance ก็จะทำให้เมื่อเวลายกตู้ Container ตู้จะเอียง และเสี่ยงต่อสินค้าเลื่อนไหล หลุดจาก สิ่งที่เราได้ Securing ได้

 
Some hoop isn’t lashing point. Because securing weight not enough to lashing.

บางจุด ไม่ใช่จุดที่จะ Securing ช่องนี้ สำหรับใส่ไม้ เพื่อช่วยกันสินค้าไม่ให้เคลื่อนตัว กรณีที่สินค้ามีความกว้างพอดีกับตู้
แต่ปกติ ก็จะกว้างกว่าตู้อยู่แล้ว ไม่งั้นจะเสียเงินใช้ตู้ Flat Rack เร๊อะ.....555






Picture : Show the hoop cannot lashing at this point.
Before load cargo to Flat Rack, Must check
# Lashing Plan
# Calculate center weight
# Lashing Point at cargo 


Picture : Mention about Lashing Hoop secure at 5000 Kgs. 

Some Flat Rack cannot support 5000 Kgs., Must check before lashing.

บางตู้ก็จะมีป้ายบอก ว่า จุดยึดต่างๆ รองรับได้ 5 ตัน 

นั่นหมายความว่า ตู้ Flat Rack ที่มีจุดยึด ยิ่งมาก ยิ่งดี เพราะจะทำงานง่าย
บาง Agent บางสายเรือ ตู้ Flat Rack มีจุดยึด น้อยมาก ที่เจอบ่อยๆ คือ MOL ไม่รู้จะหวงจุดยึดไว้ทำไม ทำมันไว้เยอะๆ ยิ่งปลอดภัยน่า.....


Agent ที่ทำตู้ Flat Rack ได้ถูกใจมากๆๆๆๆ คือ NYK มีจุดยึดเพียบ แถมยังมีห่วงที่กลางตู้ เผื่อกรณีที่สินค้ากว้างไม่เกินกว่าขอบตู้ น่ากอดจริงๆ เลย คนทำตู้แบบนี้เนี่ย......


Picture : Lashing Ring or Lashing Hoop.
Normally, Lashing at lowest hoop.

ตู้บาง Agent จะมีจุดยึดเยอะ แต่ดันมีเยอะแบบไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ 
จุดยึดควรจะกระจายกันอยู่หลายจุดตามแนวของตู้ Flat Rack ไม่ใช่กระจุกตัวรวมกันแบบนี้
ถ้าจุดยึดแบบนี้ ควรยึดที่ตำำแหน่งล่างสุด







Picture : Lashing Point on floor of Flat Rack
Some Flat Rack have lashing ring on the floor. It’s better for small cargo but heavy weight.

นี่ละตู้ NYK ของโปรด พื้นตู้มีจุดยึดให้เพียบ ดีสำหรับสินค้าที่มีขนาดเล็ก เพราะสามารถยึดที่พื้นได้เลย ไม่ต้องยึดกับจุดยึดข้างตู้
น่ารัก น่ากระโดดกอดจริงๆ ตู้ Flat Rack แบบนี้


Picture : Lashing Hoop of Flat Rack may different depend on Flat Rack Agent.

จุดยึดของตู้ Flat Rack มีหลายแบบ ในภาพก็เป็นแบบห่วงสามเหลี่ยม ยึดด้านบนของพื้น
บางตู้จะอยู่ด้านล่างของพื้นตู้ แต่ไม่มีปัญหา ขอแค่เป็นจุดยึดที่รับได้ 5 ตัน/จุด เป็นพอ







ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ร่ายมาคร่าวๆก่อน กำลังทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เสร็จแล้วจะฝากไฟล์ไว้เป็นความรู้ กับคนรุ่นต่อๆไป



Lashing Material :

   

Picture : Ratchet Strap 
Capacity : 5 Tons.

Belt ขนาด 5 ตัน
ผมเริ่มใช้แบบนี้ แทนที่สลิง 16 มม. มาได้ 2-3 ปีแล้ว เพราะสะดวกกว่ากันเยอะ และสายเรือต่างๆ ยอมรับ ยกเว้น K Line รายเดียว







Picture :         

Wire Rope 16 mm. 
ลวดสลิง 16 มม.
Breaking Load         18,400 Kgs.

Clip 16 mm.  
คลิปยึด 16 มม.
Peak Load                   3,300 Kgs.

Eye & Eye Turnbuckle 
เกลียวเร่ง แบบห่วง 2 ด้าน
Peak Load                   5,400 Kgs.



Picture : Block with Wooden.

การยึดส่วนที่เหลือด้วยไม้ จะต้องตีค้ำกับผนัง
ส่วนรูปแบบการวางไม้ เพื่อยึด ต้องดูหลายแบบ 

ว่างๆ (อีกแล้ว) จะเอามานำเสนอ











Tip & Trick ?
# Size of Wire Rope or another material …. Depend on 
ขนาดของลวดสลิงที่ใช้ ขึ้นอยู่กับ
@ Cargo Weight and/or Loading Weight of Cargo per M2.
น้ำหนักสินค้า เฉพาะ Package นั้นๆ และภาพรวมทั้งหมด

@ Cargo Size over width or not ? If over width, Breaking Load of material will reduce from standard.
ขนาดสินค้า กว้างเกินขอบตู้มากน้อยขนาดไหน ? ยิ่งขนาดกว้างเกินขอบตู้มากเท่าไร ความสามารถในการยึดของอุปกรณ์ ยิ่งถดถอยลง

@ Center weight of Cargo.
ศูนย์กลางของน้ำหนักของสินค้า อยู่ที่ไหน ต้องดูประกอบกัน ในการวางสินค้าลงตู้ Flat Rack

@ Customer must approve lashing plan before work.
Agent สายเรือ ต้องยอมรับ Lashing Plan ก่อนทำงาน

@ Some Vessel Agent accept Ratchet Strap , Not all agent.
บางสายเรือ ไม่ยอมรับ Belt ในการยึดสินค้ากับตู้ Falt Rack

@ K Line not accept Ratchet Strap.
ก็ K Line นี่แหละ ที่ไม่ยอมรับการใช้ Belt ยกเว้น มีการขอยกเว้นโดยทีมของ K Line เอง

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18 สิงหาคม 2554 เวลา 21:49

    นั้งเขียนเอง ถ่ายภาพเอง เลยร๋อเนี้ย

    ตอบลบ
  2. อ้าว แล้วใครจะทำให้ล่ะ
    ถ้ามีคนทำให้ แล้วข้อมูล จะถูกต้องหรือ มูลค่ามันสูง
    คนจะคุม เราต้องไว้ใจได้ หรือทำตาม Plan ที่เราบอก
    ผิดนิด ก็ไม่ได้

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ20 สิงหาคม 2554 เวลา 21:30

    จร้า...เก่งอยู่แล้ว nattphom นะ

    ตอบลบ
  4. Greetings, what an extraordinary web blog. I for the most part invest hours on the net perusing sites on different subjects. Furthermore, I truly might want to commend you for composing such a remarkable article
    Conex Box

    ตอบลบ