ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปาย (ไป) ทำไม ? / ทำไม ต้อง ปาย (ไป) ?


ปาย (ไป) ทำไม ? / ทำไม ต้อง ปาย (ไป) ?

เรื่องราวของ อ.ปาย ปรากฏอยู่ตามสื่อ หรือ แม้กระทั่งภาพยนตร์ ช่างมากมาย หลากหลายเหลือเกิน ภาพต่างๆ ที่แสดงออก ทำให้นึกไปถึงเรื่องราวเก่าๆ

ปลายปี 2533 ได้มีโอกาสเดินทาง เลาะตามของชายแดนประเทศ ฝั่งตะวันตก ไล่ไปตั้งแต่ชายแดนฝั่งแม่สอด ไล่ไป แม่ระมาด ท่าสองยาง ไปเรื่อยๆ จนถึง แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน จังหวัดที่รายล้อมไปด้วยภูเขา อากาศที่ดี แม้หน้าร้อน บางครั้ง จะมีควันจากไฟป่า ที่พัดเข้ามา แล้ว หมุนวนออกไปลำบาก
เสน่ห์ของจังหวัดนี้ คือ ธรรมชาติ ที่ยังสะอาด สด บริสุทธิ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของผู้คนที่ยังไม่แปดเปื้อน

จากแม่ฮ่องสอน ได้ต่อมายังที่ อ. ปาย ที่จะพูดถึงนี่แหละ
จากแม่ฮ่องสอน เราเคยไม่รู้จัก อ. ปาย มาก่อนว่ามีอะไร
เรารู้จักกันแต่ “ห้วยน้ำดัง ดินแดนแห่งทะเลหมอก อากาศสดชื่น ยามหนาว แหล่งท่องเที่ยวระดับเกรด A ในสายตา ณ เวลานั้น
อ. ปาย คือ พื้นที่ ที่ผู้คนไปพัก เพื่อรอเวลาเช้ามืด จะได้ออกมาสักราวๆ ตี 5 เพื่อจะเดินทางขึ้นบนดอย ไปสู่ ห้วยน้ำดัง

สำหรับผมแล้ว - “จอดป้ายที่ อ. ปาย เพื่อไป ห้วยน้ำดัง

ภาพของ อ. ปาย กลางวัน ช่างสงบเงียบ มีร้านกาแฟ เล็กๆ ไม่กี่ร้าน บรรยากาศของ อ. ปาย ช่าง บ้านๆ พื้นถิ่นมาก ไม่มีสิ่งที่มนุษย์สังเคราะห์มากจนเกินไป (เหมือนปัจจุบัน)
ถนนหลักของ อ. ปาย บ้านเรือนผู้คน จะเป็นบ้านไม้ การตกแต่งแบบ ที่ไม่ตกแต่งอะไรมาก ไม่มี Interior Design มาออกแบบ หรือ Idea Decorate อะไรมากจนเกินวิถี

ภาพของ อ. ปาย ตอนกลางคืน ช่างสงบเงียบ มีร้านเหล้าแบบแนว Country Folk อยู่เพียงร้าน หรือ สองร้าน แล้วเป็นร้านเล็กๆ ห้องแถวไม้ขนาด 1-2 ห้อง เดินถนนหลักของ อ. ปาย มีเพียงแสงไฟของถนนหลักที่ส่ง บ้านเรือนผู้คน ปิดบ้าน สงบ ปลอดภัย ปนความเยือกเย็นของอากาศหนาวปลายปี 2533

กลับมาภาพปัจจุบัน คนหลายคน พูดถึง และอยากไป อ. ปาย ไปชมร้านรวงต่างๆ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของ ร้านรวงต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
รวมถึง ร้านเหล้า ผับ บาร์ ที่ผุดขึ้น เพื่อมารองรับ และ เสพสุข จากรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยว ผู้หลงเข้ามาสู่ อ. ปาย
แถมด้วย มีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง จั่วหัวว่า ปาย ตื่นสาย เนื้อหา ทำนองว่า เมืองปาย โดดเด่นยามค่ำคืน ด้วย ผับ บาร์ ร้านเหล้า จนผู้คนตื่นสาย ผมเองไม่ใช่คนปาย แต่ก็นึกเสียใจ และรู้สึกไม่ดี ต่อหนังสือ และคนเขียนคนนั้น

ข้างบนนี้ เป็นภาพตอนไปปาย สมัยเลือนลาง สิบกว่าปีที่แล้ว ด้านหลังเป็นร้านกาแฟ ที่เราสามารถ ชงเอง ปรุงเองได้ตามอัธยาศัย  

ห้วยน้ำดัง ที่เป็นจุดสำคัญ กลับถูกเมิน ไม่ได้พูดถึง ความเป็น อ. ปาย กลบ สิ่งที่ธรรมชาติสร้างไว้ จนเกือบหมดมิด เสียแล้ว แต่โลกของห้วยน้ำดัง ยังคงอยู่ที่เดิม รอคนที่สละเวลา จาก อ. ปาย ไปสู่ ห้วยน้ำดัง

“จอดป้ายที่ อ. ปาย เพื่อบอกใครๆ ว่า เรามาแล้ว ที่ อ. ปาย แค่นั้นหรือ?”

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปสาระสำคัญ จากหนังสือ “เลี้ยงลูกด้วยสัญชาติญาณ”

พอดีได้หนังสือมา 1 เล่ม จากการเดินผ่านๆ เฉียดๆ ร้านหนังสือ
ราคาตามปก ร้อยกว่าบาท แต่ร้านลดราคา เหลือ 50 บาท โอเค เอาวะ
ชื่อหนังสือ มันโดนใจ แล้วก็อยากจะรู้ด้วยว่า มันเป็นยังไง

ใช้เวลาอ่าน ไม่นาน ไม่เกิน 2 ชั่วโมง จากการ รอเครื่องบินที่สนามบิน
โหย...ถ้ามันร้อยกว่าบาท อ่านนิดเดียว แล้วถ้าไม่ได้อะไร คงเซ็ง พิลึก

อ่านไปก็พยายามเก็บ รวบรวมสาระสำคัญ มาได้ ไม่กี่ประเด็น
ก็อยากจะพิมพ์บนนี้ แต่เอาเป็นว่า ใส่เป็นไฟล์ภาพดีกว่า
จะได้คัดลอกไปลำบากหน่อย

เพราะ ที่้สรุป ไม่ได้เอามาจากหนังสือเป๊ะๆ แบบคำต่อคำ
อ่านแล้วสรุป แล้วเกลาคำ เอามาให้อ่านแบบรู้เรื่อง
ลดเวลา สำหรับคนที่เอาไปอ่าน เพื่อเป็นแนวทางการดูแลลูก