ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

1.8 ล้านบาท กับค่า Freight เครื่องจักร

วันที่ 2 ตุลาคม 2551 มีงานบรรจุเครื่องจักร ลูกค้า HHH (ขอสงวนนาม ละกัน) ให้ Lashing เครื่องจักรบน Flat Rack Container
ขนาดสินค้า
Wooden Case No.1 W220 x L220 x H155 cm Gross Weight 10,416 Kgs. และ
Wooden Case No.2 W200 x L210 x H129 cm Gross Weight 6,944 Kgs.
ทั้ง 2 Case ลูกค้าให้บรรจุใน 20' Flat Rack Container

โดยปกติแล้ว จะต้องทำ Lashing Plan ส่งให้ลูกค้าดู เพื่อแจ้ง Agent หรือ สายเรือที่จะนำสินค้าลงเรือ

และทางเรือ ก็จะทำ Plan ของตัวเอง ว่าจะนำสินค้า หรือ ตู้แบบไหน วางจุดไหนของเรือ

Lashing Plan จะระบุขนาด จำนวน อุปกรณ์ที่จะใช้ยึดสินค้า เพื่อไม่ให้สินค้าเคลื่อน ขณะที่เดินทางในเรือ


หลังจากลูกค้า Approve หรือ ไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องของ Lashing Plan


เรื่องราวน่าจะผ่านไปได้ด้วยดี ขนาดของ Falt Rack โดยประมาณ 235 cm. + อุปกรณ์ Lashing ข้างละ 2.5 cm. ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่จะรับเข้าเรือได้ (ระยะโดยทั่วไป จะมี Gap 5 cm. ระหว่างตู้)

แต่ตู้นี้ ไม่ได้ผ่านไปด้วยดีซะแล้ว

2 ตุลาคม 2551 ตู้ Falt Rack ที่ Lashing สินค้าเรียบร้อยแล้ว ออกจากพื้นที่ ไปเข้าท่าเรือแหลมฉบัง

เหตุการณ์ผ่านข้ามไป จะ 6 ตุลาคม 2551 ลูกค้า แจ้งว่า เรือ XXX ไม่ได้นำ Flat Rack ตู้นี้ เข้าเรือ


นั่น แปลว่า....ตู้ตกเรือ! ตามความหมายของเราๆ คือ ตู้นี้ไม่ได้เดินทางไปกับเรือด้วย
ตายละซี ... คราวนี้ เหตุการณ์แบบนี้ เราถือว่า เป็นเรื่องใหญ่ครับ!!!

เอาใหม่..... ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่
2 ตุลาคม 2551 ตู้เดินทางออกจากพื้นที่บรรจุ โดยรถเทเลอร์ วิ่งไปที่ท่าเรือ แหลมฉบัง

3 ตุลาคม 2551 ท่าเรือ รับตู้ไว้ในพื้นที่ ยังไม่มีการแจ้งอะไรผิดปกติ

5 ตุลาคม 2551 เวลา 03.00 น. ทางลูกค้าบอกว่า ทางเรือ XXX ไม่ยอม Load ตู้นี้ลงเรือ โดยให้เหตุผลว่า Overwidth ข้างละ 5 cm. ไม่สามารถนำขึ้นเรือ และใส่ตาม Plan เรือได้

5 ตุลาคม 2551 เวลา 05.00 น. เรือออกเดินทาง

6 ตุลาคม 2551 ลูกค้าแจ้งกับเราว่า ตู้ที่บรรจุสินค้า ไม่ได้ถูกนำลงเรือ
ระหว่างนั้น ลูกค้าของเรา ก็ติดต่อลูกค้าผู้รับปลายทาง เพื่อขอส่งเป็น Shipment ถัดไป ปรากฏว่า ลูกค้าปลายทางไม่ยอม...เอาละซี...ทำไงล่ะ
สุดท้ายแล้ว ต้องไป By Air ! เรื่องใหญ่ซีครับ
เครื่องจักรเกือบ 20 ตัน ไปทาง Air ไม่อยากจะนึกเลย ว่า มูลค่าเงินที่ต้องเสียไป เพราะกัปตัน ไม่ยอมเอาตู้นี้ขึ้นเรือ โดยบอกล่วงหน้า 2 ชม. ก่อนเรือออก
ค่าใช้จ่าย จาก แสนกว่าบาท เป็น ล้านกว่าบาท
บริษัทเรือทำได้เพียงขอโทษ ที่บอกกระชั้นชิดเกินไป

เราเองผู้บรรจุสินค้า และ Lashing มีหน้าที่พิสูจน์ว่า ไม่ใช่ Overwidth 5 cm. ต่อข้างอย่างที่ทางเรือ XXX กล่าว โดยนำตู้ที่บรรจุสินค้านี้กลับมา เรียกลูกค้ามา วัด Overwidth กัน ปรากฏว่า 2 cm. 1 ข้าง และ 2.5 cm. 1 ข้าง ไม่เกินมาตรฐานการรับตู้เข้า Socket เรือ

9 ตุลาคม 2551 ลูกค้านัดเราไปประชุมร่วมกัน

10 ตุลาคม 2551 ประชุม หาข้อสรุป ลูกค้าต้องการข้อมูล

เราก็ยืนยัน ว่า นี่คือมาตรฐาน ไม่เกิน 5 cm. หากเกินต้องมีการแจ้งใน Lashing Plan
หากไม่เกิน ต้องรับลงเรือครับ

สุดท้าย ลูกค้าจ่ายล้านกว่าบาท โดยไม่ได้คำตอบจาก เรือ XXX ได้แค่คำขอโทษที่บอกช้าไป
ไม่บอกมาตรฐานเรือ การรับ Load ลงเรือ
28 ตุลาคม 2551 วันที่มีเวลาบันทึกนี้ ยังจุกแทนลูกค้าอยู่ครับ ไม่หายซะที