ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เอาเงินโบนัสไปทำอะไรดี ??

ลองขึ้นต้นหัวข้อแบบนี้ ....หลายคนก็คิดออก
ขอให้มีเงินเถอะ หาเรื่องใช้เงินได้ทั้งนั้นแหละ

แต่ช้าก่อน... บังเอิญว่า ช่วงนี้ กระแสกองทุนเปิด เพื่อลดภาษี มาแรง
ทำให้ผู้มีรายได้จากโบนัส ตื่นตัว กับคำว่า ลดหย่อนภาษี



เหตุผลง่ายๆ สิ้นปี หลายบริษัท โบนัสออก และ ภายในมีนาคม ต้องยื่นภาษี
สถาบันการเงิน จึงไม่รอช้า รีบออกโปรแกรม โปรโมชั่น กระตุ้นให้คนรีบมาลดหย่อนภาษีกัน
( ไม่แน่ใจ ได้วัฒนธรรมนี้มาจากไหน ที่ชอบลด เลี่ยง ภาษี ) 
... ฮาน่ะ.....ยิ้มหน่อย ก่อนจะมึนกะตัวเลข...



Focus ไปที่มนุษย์เงินเดือน ที่เป็นเป้าหมายของกองทุนทั้งหลาย
LTF , RMF หรือ สารพัด...สารพัน...กองทุน
** นอกเรื่องนิด ตอนที่เรียนเศรษฐศาสตร์ พวกเรามองกองทุนว่า เป็นกลุ่มคนแก่ซื้อเก็บ
เพราะผลประโยชน์น้อย และไม่หวือหวาให้สะใจ - ก็ยุคนั้นมันยุคปั่นค่าเงิน อาจจะต่างกับยุคนี้แล้ว

อันนี้ ข้อความจาก K-Expert
" ยกตัวอย่างเช่น คุณมีฐานภาษีสูงสุด 20% และซื้อกองทุน LTF เป็นเงิน 50,000 บาท ดังนั้น คุณจะสามารถลดหย่อนภาษีจากการลงทุนครั้งนี้ได้ 10,000 บาท (ทั้งนี้ ยอดเงินที่สามารถลดหย่อนภาษีอาจน้อยกว่า 10,000 บาท หากรายได้ที่ตกในฐานภาษี 20% เป็นเงินน้อยกว่า 50,000 บาท) "



เลยได้ตัวอย่างแบบเลขกลมๆ จะได้ไม่มึนมาก
กำเงิน โบนัส 50,000 บาท มาซื้อกองทุน เพื่อหวังลดหย่อนภาษี 10,000 บาท
ซื้อได้เลยครับ ถ้าคุณไม่มีภาระหนี้สินใดๆ 
แต่ช้าก่อน.....หากคุณมีหนี้สินอยู่ล่ะ

เอาตัวอย่าง ( อีกและ ) สำหรับมนุษย์เงินเดือนอีกเช่นกัน ที่ผ่อนบ้าน
สมมุติ กู้ซื้อบ้าน ยอดกู้ 1,200,000 บาท ดอกเบี้ยค่าบ้านที่คุณจะจ่าย มันเท่าไรกัน
สมมุติ ดอกเบี้ยกู้ (จิ๊บๆ) ที่ 5% (พยายามใช้เลขกลมๆ ง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ) ซึ่งจริงๆแล้ว อาจจะสูงกว่านี้ หรือ ถูกกว่า ในช่วง 1-3 ปีแรก

สมมุติ คุณผ่อนบ้าน เดือนละ 10,000 บาท ตรงกำหนดตลอด 12 เดือน จ่ายไป 120,000 บาท
ในนั้น จะเป็นดอกเบี้ย 58,605.72 บาท เป็นเงินต้น 61,394.28 บาท

ปีแรกปล่อยมันไป ปีที่ 2 ล่ะ จ่ายเดือนละ 10,000 บาท ทุกเดือนอย่างมีวินัย จ่ายไปอีก 120,000 บาท
ในนั้น จะเป็นดอกเบี้ย 55,464.67 บาท เป็นเงินต้น 64,535.33 บาท
...
......
ปีที่ห้าล่ะ จ่ายเดือนละ 10,000 บาท ทุกเดือนอย่างมีวินัย จ่ายไปอีก 120,000 บาท
ในนั้น จะเป็นดอกเบี้ย 45,044.01 บาท เป็นเงินต้น 74,955.99 บาท
อ๊ะ....สมมุติ .... หยุดที่ปีที่ 5 หรือ เดือนที่ผ่อนชำระที่เดือนที่ 60 นี้แหละ 

ที่แสดงตัวเลขหลายปี เพื่อให้เห็นว่าปีแรกๆ ที่จ่ายเงินไป ใน 10,000 บาท นั้น เป็นดอกเบี้ยราว 58%
ปีที่ 2 ดอกเบี้ยราว 55 % ปีที่ 5 นั้นราว 45 % ของเงินที่คุณจ่ายไป
เพราะฉะนั้น จบหนี้ก้อนนี้ไวเท่าไร ยิ่งเป็นประโยชน์กับตัวเอง
 
หยุดคิดนิดนึง
ปีนี้ คุณเอาเงิน 50,000 บาท ไปจ่ายค่าบ้าน ดีไหม ?? หรือ จะไป กองทุนดี ??
เมื่อครบกำหนด และถ้าผ่อนชำระอย่างมีวินัย คุณจะจ่ายเงินไปทั้งหมด 1,667,020 บาท ซึ่งเป็นเงินดอกเบี้ยในนั้นทั้งหมด 467,020 บาท ที่ 166 เดือน
( คำนวนตามตารางลดต้น ลดดอกเลย ถ้าจะให้อธิบายเรื่องนี้ ต้องขึ้นกระดาน แล้วร่ายยาวเลยละ เอาเป็นว่า ตามนี้ ผิดเพี้ยนก็นิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งไม่กระทบสาระสำคัญ ) 



กลับมาที่ตอนเริ่มต้นได้เงินโบนัส คุณมีเหลือ 50,000 บาท ที่จะเลือก กองทุน : จ่ายบ้าน

* ถ้าึคุณซื้อกองทุน เงิน 50,000 บาท ยังอยู่ งอกเงยไปตามผลประกอบการ ที่ไม่อาจรับรองได้ว่าจะมีผลตอบแทนที่ดีมากน้อยเพียงไร และ คุณได้ลดภาษี 10,000 บาท

* ถ้าคุณจ่ายค่าบ้านในงวดที่ 61 จากด้านบน เงิน 50,000 บาทคุณหายไป ภาษีไม่ได้ลด
ถ้าผ่อนชำระอย่างมีวินัย เงินดอกเบี้ยในนั้นทั้งหมดจะเหลือ 445,605 บาท ลดลงไป 21,415 บาท ที่ 160 เดือน นั่นหมายความอีกว่า คุณไม่ต้องจ่าย 10,000 บาท/เดือน ในอีก 6 เดือนสุดท้าย = 60,000 บาท
เพราะฉะนั้นโบนัส 50,000 บาทเมื่อกี้ของคุณ ไม่ได้หายไปแล้วนะครับ !!
 
นี่ถ้าคุณยังคงดึงโบนัสออกมาปีละ 50,000 บาท เพื่อจ่ายค่าบ้านแทนกองทุน (เพื่อหวังลดภาษีในปีนั้นๆ) ทุกๆปี จะลดลงไปเท่าไร ??



เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมีภาระต้องผ่อนบ้าน ( หรือ หนี้สินอื่นๆ ) จงไปชำระหนี้ ก่อนที่จะคิดมองไปถึงการซื้อกองทุนเพื่อหวังลดภาษีไม่กี่บาท ในขณะที่อีกมุมหนึ่ง คุณต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เดินทุกๆวันอยู่

ความเห็นส่วนตัว [ Natt C. ] : จริงๆแล้ว รายละเอียดปลีกย่อย มีอีกมากมาย ทั้งเรื่องหลักเกณฑ์คำนวนภาษีในปี 2557 และ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพราะแต่ละ โครงการ ก็มีมาตรการทางด้านการเงินต่างกันไป
เรื่องนี้ เป็นแค่ภาพคร่าวๆ  เพราะมีคนมาปรึกษา ว่า จะซื้อกองทุนฯ แล้วบังเอิญผมทราบว่า ยังผ่อนบ้านอยู่ ก็เลยให้คำแนะนำไปบ้าง แบบอธิบายคร่าวๆ แค่ดอกเบี้ยที่เดินแต่ละวัน กับการลดภาษี ที่เราสามารถลดภาษีจากด้านอื่นๆได้

อ่อ....แล้วก็ เรื่องนี้ไม่สามารถไปโยงกับฟอกเงินนะจ๊ะ.....
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น